องค์ประกอบของการสร้างเว็บไซต์ ด้วย WordPress จะมีอยู่ 3 อย่างคือ โดเมน โฮสติ้ง และโปรแกรม WordPress นั้นหมายความว่า คุณจำเป็นต้อง จดโดเมน และเช่าโฮสติ้ง ให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นคุณค่อยติดตั้ง WordPress ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า DirectAdmin
สารบัญ
- DirectAdmin คืออะไร
- การสมัครใช้งาน
- การเพิ่มโดเมน
- ตั้งค่า nameserver
- การทำ HTTPS (SSL)
- การตั้งค่า PHP version
- การสร้าง Subdomain
- การติดตั้ง WordPress
- สรุป
DirectAdmin คืออะไร
DirectAdmin คือ ระบบบริหารจัดการเว็บโฮสติ้ง (Hosting Control Panel) เป็นตัวช่วยให้เราทำการสร้างเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำหน้าที่หลักๆ เช่น เพิ่มโดเมน สร้างซับโดเมน หรือแม้กระทั้งเป็นตัวช่วยสำหรับการลง WordPress
ซึ่ง Control panel ที่นิยมกันทั่วโลก จะมีอยู่ ประเภทหลักๆ ได้แก่ Direct admin, Plesk และ Self-Host Control Panel
ระบบ DirectAdmin
ระบบ Plesk
*หมายเหตุ
Self-Host Control Panel หมายถึง ผู้ให้บริการโฮสติ้ง มีระบบ Control Panel ของตัวเอง และไม่ได้ใช้ทั้ง DirectAdmin และ Plesk เช่น Siteground, Clouldways เป็นต้น
การสมัครใช้งาน
แน่นอนคุณจะใช้งาน Direct Admin ได้ คุณต้องไปสมัครเช่าโฮสติ้งให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งโฮสติ้งในประเทศไทย ที่มีระบบ Direct Admin มีอยู่มากมาย แต่ที่ผมแนะนำให้คุณเลือกใช้ก็จะมีอยู่ด้วยกัน 2 เจ้า ดังนี้
ถ้าใครยังไม่เคยเช่าโฮสเอง ลองเข้าไปดูคำแนะนำวิธีซื้อโฮสที่บทความนี้ก่อนครับ วิธีเช่า Hosting พอถึงขั้นตอนเลือกแพคเกจ คุณจะสามารถเลือกได้ว่า จะเลือกใช้ Direct Admin หรือ Plesk
การเพิ่มโดเมน
สำหรับในหัวข้อนี้ ผมจะใช้ Hostatom เป็นตัวอย่างในการทำ หากคุณใช้โฮสติ้งเจ้าอื่นๆ ก็สามารถทำตามได้ เช่นกัน หน้าตาบางจุดอาจจะแตกต่างกัน แต่หลักการใช้งาน Direct Admin มันจะเหมือนกันนั้นเอง
เข้าสู่ระบบหลังบ้านของโฮสติ้ง แล้วเลือกบริการแพคเกจโฮสติ้งที่คุณได้ซื้อไว้แล้ว โดยมากเข้าจะมีตัวย่อ DA ต่อท้าย หมายความว่า แพคเกจนี้ใช้ Direct Admin
หากเจอหน้าตาแบบนี้ ให้คลิก เข้าสู่ DirectAdmin
เมื่อเข้าสู่ระบบ DirectAdmin เราต้องเริ่มต้นเพิ่มโดเมนที่คุณจดไว้เข้าไปก่อน ด้วยการคลิกที่รูป Domain Setup
จากนั้นให้คลิก Add New
จากนั้นให้พิมพ์ชื่อโดเมน ที่คุณได้จดไว้ลงไป แล้วคลิก Create
คุณก็จะเจอกับชื่อโดเมนใหม่ที่เพิ่มเข้ามา
*หมายเหตุ
ตรงหน้ารายชื่อโดเมน หากคุณจดโดเมนและเช่าโฮสในคราวเดียวกัน ที่เดียวกัน บางครั้งทางโฮสติ้งก็จะเพิ่มโดเมนของคุณไว้ให้แล้ว ดังนั้น หากปรากฏชื่อโดเมนของคุณอยู่แล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องไป Add new โดเมนเพิ่ม
ตั้งค่า nameserver
Nameserver (NS) คือ เป็น IP ของ Web Hosting ที่คุณใช้บริการอยู่ ซึ่งโดยทั่วไป Nameserver ต้องมีอย่างน้อย 2 ตัว เช่น ns1.sample.com, ns2.sample.com เพื่อให้ตัวที่ 2 นั้นเป็นตัวสำรองในกรณีที่ ns1 นั้นล่ม
เช็คค่า nameserver
nameserver ก็เหมือนบ้านเลขที่ ทุกโฮสติ้งจะมีเลขที่บ้าน อยากให้โดเมนที่เราจดไว้มาแสดงที่โฮสไหน ต้องตั้งค่า nameserver (บ้านเลขที่) ก่อน เพราะบางครั้งเราอาจจะจดโดเมนที่นึง แต่ใช้โฮสติ้ง อีกเจ้านึงนั้นเอง
วิธีการเช็ค nameserver และตั้งค่า nameserver มีดังนี้ครับ จดโดเมนไว้ที่ไหน เข้าระบบหลังบ้านของให้ผู้ให้บริการนั้นได้เลย สำหรับคนที่ใช้ Hostatom ทำตามนี้ได้เลยครับ
ให้เราเข้าระบบหลังบ้านของ Hostatom จากนั้นให้เลือกเมนู บริการของฉัน เราจะเห็นรายชื่อโฮสที่เราได้ซื้อไว้ จากนั้นให้ดูตรงที่เป็นสีเขียวๆ คลิกที่ สินค้า/บริการที่ใช้งานอยู่
ระบบก็จะพาเข้ามาหน้า การจัดการสินค้า ให้เรามองดูล่างๆ จะเห็นชื่อของ nameserver ของโฮสที่เราใช้งานอยู่ ให้ copy ชื่อ nameserver เก็บไว้ก่อน เพื่อเตรียมจะเอาไปใส่ที่โดเมน
จากนั้นให้เลือกเมนู โดเมนของฉัน
จากนั้นไปที่ชื่อโดเมนของเรา ให้คลิกที่เป็น dropdown และให้คลิก จัดการ Nameservers
ต่อมาให้เลือกที่ ใช้ nameservers ที่กำหนดเอง ให้เอาชื่อ nameserver ของโฮสเรา วางลงไปครับ คลิกเปลี่ยน nameservers ให้เรียบร้อย
การทำ HTTPS (SSL)
ทำเว็บให้เป็น HTTPS คือ การเข้ารหัสข้อมูลบนเว็บไซต์ของเรา เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารหรือส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครับ เราจะสังเกตเห็นว่าเว็บไหนที่เขาเข้ารหัสไว้ มันจะมีการแสดงรูปแม่กุญแจเอาไว้บน browser ลองดูจากรูปตัวอย่างนะครับ
ซึ่งเราจะทำ HTTPS ผ่านสิ่งที่เรียกว่า Let’s Encrypt Free SSL โดยส่วนใหญ่โฮสแต่ละเจ้าจะมีบริการนี้ให้เราฟรีอยู่แล้วครับ
ขั้นตอนแรกให้คุณกลับไปที่หน้า DirectAdmin ก่อน จากนั้นให้เลือกชื่อโดเมนที่คุณต้องการทำ HTTPS แล้วให้คลิกไปที่รูป SSL Certificates
จากนั้นให้คลิกตั้งค่าตามรูปด้านล่างได้เลยครับ
จากนั้นรอระบบอัพเดทสักครู่ประมาณ 1-24 ชั่วโมงครับ
วิธีเช็คว่าโดเมนของเราพร้อมใช้งานแล้วรึยัง
ถ้าขึ้นรูปแบบนี้ แสดงว่าโดเมนพร้อมใช้งาน แต่ SSL (HTTPS) ยังไม่อัพเดท ให้คุณรอระบบอัพเดทสักครู่
ถ้าขึ้นรูปแบบนี้ แสดงว่าโดเมนและ HTTPS (SSL) พร้อมใช้งานแล้ว
การตั้งค่า PHP version
หากเราอยากจะใช้ WordPress หรือโปรแกรมอะไรก็ตามให้ได้ประสิทธิภาพเต็มที เราต้องรู้เสปคของ Sever ที่เขาต้องการก่อนนั้นเอง
Spec โฮสติ้ง ที่ WordPress แนะนำมีดังนี้
- PHP version 7.4 or greater.
- MySQL version 5.6 or greater OR MariaDB version 10.1 or greater.
- HTTPS support
อ้างอิงจาก: WordPress.org
PHP version ที่ WordPress ต้องการคือเวอร์ชั่น 7.4 ขึ้นไปนั้นเอง หากเราต้องการปรับแต่งจุดนี้ ให้เราเข้าไปที่ Domain Setup
คลิกไปที่ชื่อโดเมน
คลิกไปที่ PHP Version Selector
คลิกเลือก PHP เวอร์ชั่น 7.4 คลิก save ให้เรียบร้อย
การสร้าง Subdomain
Subdomain คือ โดเมนย่อย สำหรับการแบ่งหมวดหมู่เว็บ เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจง่ายๆ สำหรับเว็บที่มีเนื้อหาคอนเทนต์ที่หลากหลาย เช่น เว็บ kapook จะแบ่งหมวดหมู่เนื้อหา เป็นเว็บใหม่แยกขาดจากเว็บหลัก แต่สร้างบน Subdomain แทน เช่น news.kapook.com, course.padveewebschool.com เป็นต้น
ประโยชน์ของ Subdomain
- แต่สำหรับบุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้เป็นเว็บขนาดใหญ่ เราไม่จำเป็นต้องแบ่งเนื้อหา แยกออกมาเป็นอีกเว็บก็ได้ แต่เราจะใช้ Subdomain ไว้เป็นเว็บสำหรับการฝึกฝนทำเว็บนั้นเอง
- เป็นการใช้ Subdomain สร้างเว็บบนโฮสจริง แทนการจำลอง server บนเครื่องคอมพิวเตอร์
- ซึ่งผมมองว่า การสร้าง Subdomain เพื่อเอาไว้ฝึกทำเว็บ สะดวกกว่าการจำลอง Server บนเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ
หากคุณต้องการจะสร้าง Subdomain เอาไว้เป็นเว็บฝึกซ้อม ก็สามารถทำได้ดังนี้
คลิกไปที่ Subdomain Management
คลิก Add Subdomain
พิมพ์ชื่อ subdomain ที่คุณต้องการลงไป กด Add Subdomain ให้เรียบร้อย
*หมายเหตุ
1 ชื่อโดเมน คุณจะสร้างกี่ Subdomain ก็ได้ ตัวอย่าง
demo.mydomain.com
demo1.mydomain.com
demo2.mydomain.com
demo3.mydomain.com
การติดตั้ง WordPress
เมื่อคุณ จดโดเมน เช่าโฮส สร้าง Subdomain เรียบร้อยแล้ว หากคุณจะเริ่มต้นสร้างเว็บด้วย WordPress คุณต้องลงโปรแกรม WordPress ให้เรียบร้อยก่อน มีวิธีการทำ ดังนี้
ไปที่หน้า Direct Admin ดูที่หัวข้อ Softaculous Apps Installer คลิกไปที่รูป WordPress
จากนั้นให้คลิก Install Now
จากนั้นให้เข้าไปตั้งค่าโดเมนที่ต้องการติดตั้ง WordPress ตามรูปด้านล่างได้เลย
หากการติดตั้ง WordPress เป็นที่เรียบร้อย ให้คุณไปเปิดเว็บคุณดู จะขึ้นหน้าตาแบบนี้
เมื่อได้เว็บ WordPress เรียบร้อยแล้ว ขึ้นตอนถัดไปคือเรียนรู้วิธีการใช้งาน WordPress แนะนำให้คุณเข้าไปดูต่อที่บทความนี้ครับ ตั้งค่า WordPress
*หมายเหตุ
ขั้นตอน การเพิ่มโดเมน ทำ HTTPS สร้าง Subdomain ลง WordPress หากคุณทำเองแล้วติดขัด ให้แจ้งไปทางโฮสติ้งทำให้ได้เลยครับ ทุกโฮสติ้งมีบริการจุดนี้ให้คุณฟรี
สรุป
DirectAdamin เป็นระบบ Control Panel ยอดนิยมที่โฮสส่วนใหญ่เลือกใช้ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆ ด้าน และมีการใช้งานที่ไม่ยาก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์เป็นอย่างดี
เรียนออนไลน์ฟรี คอร์สเรียนสร้างเว็บ WordPress+Woocommerce
คลิกเข้าเรียนที่นี่- การจดโดเมนและเช่าโฮส
- การทำ HTTPS
- การติดตั้ง Wordpress
- การใช้ WordPress พื้นฐาน
- การติดตั้งและตั้งค่าพื้นฐาน Woocommerce
- การลงสินค้าประเภทต่างๆ
- การตั้งค่าจัดส่งประเภทต่างๆ
- การตั้งค่าชำระเงิน 3 แบบ
โอนเงิน paypal และบัตรเครดิต - การสร้างหน้าฟอร์มแจ้งชำระเงิน
- การสร้าง Contact Form
- การย้ายเว็บและการ backup เว็บ
- การติดตั้ง Google Analytic
และ Google Search Console
บทเรียนทั้งหมดนี้ ทุกคนสามารถเข้าเรียนได้ฟรี โดยไม่ต้องสมัครเรียน
ความแตกต่างระหว่าง แค่ทำเว็บได้ กับทำเว็บให้ดี ขึ้นอยู่กับความรู้พื้นฐานนั้นเอง
พื้นฐานต้องแน่นก่อน ถึงจะสามารถต่อยอดทำเว็บให้ดีในอนาคตได้ครับ