ตั้งค่าเริ่มต้นใช้งาน WordPress

หากคุณจะเริ่มต้นสร้างเว็บด้วย WordPress ได้ คุณต้องเตรียมสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ให้พร้อมครับ

  • Domain (ชื่อเว็บไซต์)
  • Hosting (ที่ตั้งเว็บไซต์)
  • ติดตั้ง WordPress ลงบนโดเมน

หากยังไม่ได้ทำสามสิ่งนี้ ให้กลับไปดูเนื้อหาที่บทเรียนนี้ก่อนครับ

จดโดเมนและเช่าโฮสติ้ง

**หมายเหตุ

สำหรับนักเรียนทุกคนที่รอคิวเรียนรอบสอนสดกับผม หากคุณอยากลองฝึกทำเว็บด้วยตนเองไปก่อน เพื่อความง่ายของการทำตามบทเรียนต่างๆ ผมแนะนำให้คุณทำดังนี้ครับ

  • จดโดเมน จดที่ไหนก็ได้ แต่หากใครยังไม่ได้จดโดเมนผมแนะนำให้มาจดที่ Hostatom
  • เช่าโฮส จุดนี้บังคับเลย ถ้าจะตามสิ่งที่ผมสอนได้ ต้องมาเช่าโฮสที่ Hosatom เท่านั้นครับ
  • การติดตั้ง WordPress ที่โดเมนหลัก หรือบน Subdomain รวมถึงการทำ HTTPS ฟรี ให้คุณแจ้งทาง Hostatom ทำแทนได้เลย (จุดนี้เขาบริการให้ฟรี)

ทางเข้าสำหรับการจดโดเมนและเช่าโฮส คลิกที่นี่ครับ : Hostatom

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว เริ่มต้นเรียนรู้ตาม คู่มือสอนใช้ WordPress 2020 ชุดนี้กันได้เลยครับผม

*หมายเหตุ*

สำหรับผู้ที่เข้าเรียนบทเรียนนี้ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 63 เป็นต้นไป WordPress มีการอัพเดทเล็กน้อย ทำให้เนื้อหาในคลิป ตั้งแต่นาที ที่ 7.30 เป็นต้นไป ไม่เหมือนกับหน้าเว็บจริง ผมแนะนำให้คุณดูคลิปนี้แทนครับ ? ?

วิดีโอสอนตั้งค่า WordPress 5.6

หัวข้อเกี่ยวกับการตั้งค่า WordPress

1) วิธีเข้าสู่ระบบหลังบ้าน WordPress (Dashboard)

เราจะเข้าไปแก้เนื้อหาได้เราต้องเริ่มต้นจากการ login เข้าสู่หลังบ้าน มีวิธีการทำดังนี้ครับ

เข้าสู่ระบบ WordPress

การเข้าหลังบ้าน WordPress ให้พิมพ์ /wp-admin ต่อท้ายชื่อโดเมน

ตัวอย่าง https://padveedigital.com/wp-admin

ระบบก็จะพาเราเข้าสู่หลังบ้าน WordPress ซึ่งมีหน้าตาดังรูปนี้ครับ

หน้า dashbord

วิธีการกลับสู่หน้าบ้านเว็บ ให้เราคลิกที่รูปสัญลักษณ์บ้านครับ

front page

การออกจากระบบ WordPress

ดูทีมุมขวามือ เอาเมาส์ไปชี้ แล้วจะเจอคำสั่ง Logout

ออกจากระบบ WordPress

2) ติดตั้งปลั๊กอิน classic editor

เนื่องจากช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา WordPress เวอร์ชั่น 5.0 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือเปลี่ยน Editor (เครื่องมือสำหรับการเขียนข้อมูล) จากเวอร์ชั่นเก่าที่เป็น Classic Editor มาเป็น  Gutenberg ซึ่งทำให้การใช้งานเปลี่ยนไปทั้งหมด

เนื่องจากบทความนี้เขียนไว้ก่อนที่จะมีตัว Gutenberg ดังนั้นหากคุณกำลังจะลองฝึกใช้งาน WordPress และให้สามารถใช้งานตามคู่มือในบทความนี้ได้ ผมแนะนำให้คุณลงปลั๊กอิน Classic editor ก่อนครับผม

Classic-Editor

วิธีติดตั้งปลั๊กอิน Classic editor

1.ให้เข้าหลังบ้านคลิก Plugin > Add New > ค้นหาปลั๊กอินชื่อ Classic Editor > คลิก Install และ Activate เปิดใช้งานปลั๊กอินให้เรียบร้อยครับ

3) เปลี่ยนมาใช้ธีม Twenty Seventeen

สำหรับธีมที่ติดมากับ WordPress 5.6 คือธีม Twenty Twenty-One แต่สำหรับบทความนี้ผมขอใช้ธีม Twenty Seventeen ในการเขียนเป็นคู่มือครับ เนื่องจากผมคุ้นเคยกับธีมเวอร์ชั่นเก่ามากกว่าธีมตัวใหม่ล่าสุดนั้นเอง

วิธีการเปลี่ยนธีม

1) ไปที่ Appearance > Themes > คลิก Add new

เปลี่ยนธีม WordPress

2) พิมพ์ค้นหาธีมชื่อ Twenty Seventeen แล้วคลิก Install

ธีม Twenty seventeen

 

หลังจากทำตาม 2 ขั้นตอนนี้เสร็จแล้ว คุณก็จะสามารถเรียนรู้และทำตาม คู่มือสอนตั้งค่า WordPress ในบทความนี้ได้แล้วครับผม

4) ตั้งค่า General Settings

หากมองว่า WordPress คือ โปรแกรม ดังนั้นก่อนที่คุณจะใช้งานเขาให้มีประสิทธิภาพ เราต้องมาเซ็ตค่าเริ่มต้นกันสักเล็กน้อยตามนี้ครับ

General Setting

ดูที่เมนูด้านซ้าย ไปที่ Settings > คลิก General

ตั้งค่า WordPress

การตั้งค่า General Setting ที่สำคัญมีดังนี้

  • Site Title: ใส่ชื่อเว็บ หรือชื่อ Brand ลงไป
  • Tagline: เขียนคำอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับธุรกิจหรือร้านค้าของเรา
  • Email Address: ใส่อีเมลที่ใช้งานจริง
  • Site Language: เลือก ไทย (การแสดงภาษาที่หน้าบ้าน Frontpage)
  • Time zone: เลือกโซนเวลา เมืองไทยให้เลือกเป็น UTC+7
  • Date Format: เลือกแบบ วัน/เดือน/ปี
  • Week Starts On: วันเริ่มต้นสัปดาห์ ให้เลือกเป็น วันอาทิตย์ครับ

ตั้งค่าทุกอย่างเสร็จให้คลิก save change

5) ตั้งค่าภาษาหลังบ้าน

หลังจากเรากด save change พวกแถบเมนูจะเปลี่ยนเป็นภาษาไทยตามที่เราเลือกไว้ที่ Site Language

ตั้งค่าภาษา WordPress

แต่หากเราต้องการใช้งาน WordPress ให้เป็นสากล เราควรทำให้แถบเมนูหลังบ้าน (Dashboard) เป็นภาษาอังกฤษ แต่ให้เป็นภาษาไทยเฉพาะหน้าบ้านจะดีกว่า ชื่อเรียกฟังชั่นต่าง ๆ มันจะได้เป็นสากล ติดขัดอะไรไปเสริจหาบน google จะเจอคำตอบได้ง่ายกว่าครับ

วิธีการเปลี่ยนภาษาเมนูบนหน้าควบคุมให้เราไปเปลี่ยนที่ส่วนของ ผู้ใช้ (User) แล้วคลิก แก้ไข ตรงชื่อ user

change-language

ตรงภาษา ให้เลือกเป็น English (ตรงจุดนี้ คือการเปลี่ยนเฉพาะภาษาของแถบเมนูหลังบ้านเท่านั้น)

คลิก อัปเดทข้อมูลส่วนตัว ให้เรียบร้อยด้วยครับ

6) Permalink Settings (ตั้งค่าลิงค์ถาวร)

Permalink Settings คือ การกำหนดการแสดงผลของ URL ว่าต้องการแบบไหน เช่น เป็นตัวเลข, เป็นวันที่, หรือเป็นข้อความ แนะนำให้ตั้งค่าตามนี้ครับ

ไปที่ Settings > Permalink แล้วให้ติ๊กที่ช่อง Post name ตามรูปเลยครับ

ตั้งค่าลิงค์ถาวร

7) ปิดไม่ให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูล (บนเว็บฝึกซ้อม)

หากเรากำลังฝึกซ้อมเว็บบน Subdomain หรือกำลังทำบน Domain จริง หากเว็บที่เรากำลังทำอยู่นั้นยังไม่เรียบร้อย เราต้องเปิดคำสั่งไม่ให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูล เพราะเว็บที่ยังทำไม่เสร็จ ยังต้องมีการแก้ไขเนื้อหาอีกหลายอย่าง เราจะได้ไม่เสียคะแนนด้าน SEO

วิธีการทำ Noindex ทั้งเว็บ

การปิดไม่ให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูล เราเรียกกันว่าการทำ Noindex นั้นเอง

ไปที่ settings > reading > ติ๊กเลือก Discourage search engines from indexing this site

ทำ noindex WordPress

สำหรับการตั้งค่าเริ่มต้นใช้งานพื้นฐานก็มีเพียงเท่านี้ครับ

บทเรียนถัดไป: ใช้งาน Page/Post

เรียนออนไลน์ฟรี คอร์สเรียนสร้างเว็บ WordPress+Woocommerce 

คลิกเข้าเรียนที่นี่
  • การจดโดเมนและเช่าโฮส
  • การทำ HTTPS
  • การติดตั้ง Wordpress
  • การใช้ WordPress พื้นฐาน
  • การติดตั้งและตั้งค่าพื้นฐาน Woocommerce
  • การลงสินค้าประเภทต่างๆ
  • การตั้งค่าจัดส่งประเภทต่างๆ
  • การตั้งค่าชำระเงิน 3 แบบ
    โอนเงิน paypal และบัตรเครดิต
  • การสร้างหน้าฟอร์มแจ้งชำระเงิน
  • การสร้าง Contact Form
  • การย้ายเว็บและการ backup เว็บ
  • การติดตั้ง Google Analytic
    และ Google Search Console

บทเรียนทั้งหมดนี้ ทุกคนสามารถเข้าเรียนได้ฟรี โดยไม่ต้องสมัครเรียน

ความแตกต่างระหว่าง แค่ทำเว็บได้ กับทำเว็บให้ดี ขึ้นอยู่กับความรู้พื้นฐานนั้นเอง
พื้นฐานต้องแน่นก่อน ถึงจะสามารถต่อยอดทำเว็บให้ดีในอนาคตได้ครับ

บทเรียนทั้งหมด

เรียน SEO ออนไลน์

ค่าเรียน 4,500 บาท

สำหรับผู้ที่สนใจ
สามารถซื้อคอร์สเรียนในราคาพิเศษเพียง 3,500 บาท

เรียน SEO ออนไลน์

ค่าเรียน 4,500 บาท

สำหรับผู้ที่สนใจ
สามารถซื้อคอร์สเรียนในราคาพิเศษเพียง 3,500 บาท