การทําเว็บหลายภาษา บน WordPress ด้วยปลั๊กอิน WPML

การทําเว็บหลายภาษา

การทําเว็บหลายภาษา บน WordPress มีหลายวิธี แต่ที่ส่วนใหญ่ทำกันเพื่อให้ง่ายที่สุด อาจมีอยู่ 2 แนวทางครับ ดังนี้ครับ

แนวทาง การทําเว็บหลายภาษา

1. ทำแยกกันเป็นคนละเว็บไปเลย

คือ มี 1 ภาษาอยู่บนโดเมนหลัก เช่น www.mydomain.com กับอีกภาษาจะทำเว็บแยกออกมาต่างหาก อาจจะสร้างที่ซับโดเมน เช่น www.en.mydomain.com หรือจะไปสร้างที่ directory ต่อท้ายชื่อโดเมนก็ได้ครับ เช่น www.mydomain.com/en

ข้อดีคือทำง่าย แยกเนื้อหาได้ชัดเจนแม้จะมีปริมาณข้อมูลไม่เท่ากัน แต่ข้อเสียมีเพียงอย่างเดียว คือ มันไม่เท่ กดเปลี่ยนภาษาแล้วมันจะกลับมาเริ่มที่หน้า home ของอีกภาษาเสมอ

อ่านเพิ่มเติม: ทำเว็บหลายภาษาแบบแยกเว็บ (ไม่ใช้ปลั๊กอิน)

2. ใช้ปลั๊กอินช่วยในการแยกแต่ละภาษา

คือ รวมระบบทุกอย่างรวมในเว็บเดียว เวลาแก้ แก้ที่เดียว อัพเดทระบบที่เดียว เว็บแต่ละหน้า สามารถคลิกไปอีกภาษาในเนื้อหาเดียวกันได้ แต่มีข้อเสีย ก็คือระบบทำงานหนักกว่าแยกเว็บ เนื่องจากต้องคอยเช็คตลอดว่าขณะนั้นอยู่ในภาษาอะไร ทำให้มักจะแสดงผลช้ากว่า

หากใครยังลังเลอยู่ว่าจะ ทำเว็บหลายภาษา ด้วยวิธีการใดดีถึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของเรา ลองเข้าไปดูคำแนะนำแบบละเอียดโดย คุณเม่น Seed Theme ได้ที่นี่เลยครับ ทำเว็บหลายภาษา มีแนวทางการทำแบบไหนบ้าง?

แต่สำหรับบทความนี้เราจะพูดถึงเฉพาะการใช้ปลั๊กอินช่วยในการแยกแต่ละภาษา โดยใช้ปลั๊กอิน WPML เป็นตัวมาตรฐานที่สุด แต่เป็นตัวเสียตังค์นะ มีปลั๊กอินต่างๆ รองรับเยอะมาก ถ้าต้องเลือกใช้ปลั๊กอิน ใช้ตัวนี้ดีสุดครับ

การทําเว็บหลายภาษา

มีแค่เว็บที่มีคุณภาพดีเท่านั้น ถึงจะมีโอกาสติดหน้าแรก Google ได้ ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้เอง ผมขอแนะนำให้มาเรียนครับ ดูรายละเอียด และค่าเรียนได้ที่นี่ 

สอนทำเว็บไซต์ ตัวต่อตัว สอน WordPRess ตัวต่อตัว

ขั้นตอนใช้งานปลั๊กอิน WPML

1. ไปซื้อปลั๊กอินเตรียมไว้ได้เลยครับ ตัวนี้เสียเงินนะ ราคาแพคเกจเริ่มต้นคือ 29 $ ครับ โดยส่วนตัวผมก็ใช้แพคเกจนี้อยู่ครับ เข้าไปดูรายละเอียดของแต่ละแพคเกจของ WPML ได้ที่นี่ครับ
2. หลังจากเราซื้อปลั๊กอินเรียบร้อยแล้ว ให้เราเข้าไปดาวน์โหลดปลั๊กอินเพื่อมาใช้งานได้ที่หน้า accout และคลิกตรงส่วน download ได้เลยครับ

wpml account

3. พอเราเข้าสู่หน้า download เราจะเจอปลั๊กอินมากมาย ที่มาพร้อมกับแพคเกจที่เราได้เลือกซื้อไว้ โดยในเบื้องต้นปลั๊กอินที่เราจะใช้งานมีอยู่ 2 ตัว คือ WPML Multilingual CMS และ WPML String Translation ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ที่เครื่องคอมของเราได้เลยครับ

WPML Multilingual CMS

4. จากนั้นให้เราติดตั้งปลั๊กอินทั้ง 2 ตัวให้เรียบร้อยบนเว็บไซต์ของเรา โดยมีหลักการอยู่ว่าให้ลงปลั๊กอิน ตัวหลัก คือตัว WPML Multilingual CMS ก่อน จากนั้นค่อยลง WPML String Translation ตามทีหลัง

install wpml plugin

5. ไปที่แถบเมนู คลิก WPML เพื่อเข้าสู่หน้าการใช้งานปลั๊กอิน ให้เลือกภาษาหลักของเว็บที่เราต้องการ ในที่นี้ขอใช้ ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาหลักแล้วกันนะครับ จากนั้นคลิก next

setup wpml

6. ขั้นตอนต่อมาให้เราเลือกภาษาที่สองของเว็บนี้ ในที่นี่เลือกเป็นภาษาไทยครับ

ทำเว็บสองภาษา

7. ทำการเพิ่ม switcher เปลี่ยนภาษาเข้าไปบนเมนู โดยการคลิกไปที่  add a new language switcher to a menu

add a new language switcher to menu

8. ปรับเปลี่ยน switcher option อาจจะตั้งค่าตามรูปได้เลยครับ และคลิก save ให้เรียบร้อย

ทำเว็บหลายภาษา

จากนั้นให้คลิก Next

wpml switcher option

9. พอเข้ามาถึงหน้าที่ต้อง Registration ให้เราคลิก Remind me later หากเรายังไม่ต้องการลงทะเบียนมันตอนนี้

wpml switcher option

คลิก Finish ได้เลย

finish setup wpml

มีแค่เว็บที่มีคุณภาพดีเท่านั้น ถึงจะมีโอกาสติดหน้าแรก Google ได้ ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้เอง ผมขอแนะนำให้มาเรียนครับ ดูรายละเอียด และค่าเรียนได้ที่นี่ 

สอนทำเว็บไซต์ ตัวต่อตัว สอน WordPRess ตัวต่อตัว

10. เพื่อให้ URL ตอนเปลี่ยนภาษาออกมาสวย ตรงตาม URL ของภาษาหลัก ในส่วนของ Language URL format ให้เราติ๊ก Different languages in directories ตามรูปเลยครับ ซึ่งตรงจุดเองที่พวกปลั๊กอินแปลภาษาตัวฟรี เช่น PolyLang ทำไม่ได้

url เว็บสองภาษา

11. ต่อมาไปที่หน้า page หรือ post ที่เราต้องแปลภาษากันได้เลยครับ ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างหน้า Home ละกันนะ จากนั้นให้คลิกเครื่องหมาย + เพื่อเพิ่มภาษาที่สอง ดูตามรูปภาพประกอบได้เลยครับ

home translate

12. ระบบปลั๊กอินก็จะพาเรามาหน้าที่จะใช้แปลภาษา ซึ่งในที่นี่เรากำลังจะแปลภาษาจากอังกฤษ เป็นภาษาไทย และเพื่อให้ง่ายที่สุด ให้เรากด Overwrite with English content ไปได้เลยครับ เราจะได้ไม่ต้องมานั่งจัด layout หน้าเว็บใหม่

ระบบแปลภาษา overwrite content

13. หน้าที่เราเห็นต่อไปนี้คือหน้าที่จะแสดงตอนที่เราเลือก แสดงเป็นภาษาไทย โดยสังเกตรูปธงชาติไทย จากนั้นให้เราค่อยๆ ไล่เปลี่ยน text ภาษาอังกฤษ ให้เป็นภาษาไทยทั้งหมดครับ

เว็บสองภาษา wordpress

ปดูผลงานของเรากันดีกว่า หลังจากที่เราไล่เปลี่ยนจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย หน้าตาเว็บของเราจะเป็นเช่นไรบ้าง (ตัวอย่างเว็บที่แสดงนี้ใช้ธีม Avada ในการจัดทำนะครับ ซึ่งหน้าตา page builder ของแต่ละธีมนั้นจะไม่เหมือนกัน)

ตัวอย่างเว็บหลักเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ

เว็บหลายภาษา ทำยังไง

หน้าตาเว็บเวอชั่นภาษาไทยหลังจากที่เราคลิกที่ switcher เปลี่ยนภาษา

ขั้นตอนทำเว็บหลายภาษา

ข้อสังเกต

ในเวอร์ชั่นภาษาไทย พวก slider ด้านบนและแถบเมนูต่างๆ หายไป นั่นหมายความว่านอกจากเราจะไล่เปลี่ยนภาษาที่หน้า page และ post แล้ว เราต้องไปเพิ่มข้อมูลภาษาที่สอง ในส่วนต่างๆ ของเว็บเราให้หมดด้วย เช่น ในส่วนของ Slider, Menu, Widget ต่างๆ อีกด้วย

มีแค่เว็บที่มีคุณภาพดีเท่านั้น ถึงจะมีโอกาสติดหน้าแรก Google ได้ ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้เอง ผมขอแนะนำให้มาเรียนครับ ดูรายละเอียด และค่าเรียนได้ที่นี่ 

สอนทำเว็บไซต์ ตัวต่อตัว สอน WordPRess ตัวต่อตัว

14. จัดการแปลภาษาในส่วนของ Slider ให้เราไปที่เมนู Slider ของธีมที่เราใช้กันได้เลยครับ สำหรับธีม Avada ส่วนของการทำ Slider เขาจะมี add on ของธีมเองชื่อว่า Fusion Slider

จากนั้นให้เราเข้าไปไล่ edit เปลี่ยนภาษาของแต่ละ slider ตามนี้ได้เลยครับ ทำเหมือนตอนแปลหน้า page เลย โดยการคลิกเครื่องหมาย + เพื่อเพิ่มภาษาที่สอง ดูตามรูปภาพประกอบเอานะ

fusion Slider

คลิก Overwrite with English content ไปได้เลยครับ เราจะได้ไม่ต้องมานั่งจัด option ของ Slider ใหม่

fusion Slider swith over write

หลังจากเราคลิก Overwrite with English content เราก็สามารถเข้าไปไล่แก้ข้อมูลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ครับ รวมถึงเปลี่ยนภาพ featured image ของ slide นั่นๆ ด้วย

slider home th

กลับมาดูหน้าเว็บของเราอีกครั้งครับ ลองคลิกปุ่มเปลี่ยนภาษาดูนะ จะสังเกตได้ว่า Slider หน้า Home ตัวภาษาไทยแสดงได้แล้ว

home th 2

หากใครที่ใช้ธีม Avada แล้วแต่ตัว Slider ยังไม่แสดง เราอาจต้องไปเช็ค option การเลือกแสดง slider ของหน้านั้นๆ ว่าเราเลือก Slider ที่เราต้องการรึยัง ถ้าใครใช้ธีม อื่นๆ ก็หลักการเดียวกันครับ แต่หน้าตาตรงส่วนปรับ option จะไม่เหมือนกันแค่นั้นครับ

avada slider setup

การแปลภาษาตรงส่วน Menu

หลังจากที่เราแปลภาษาตรงส่วนเนื้อหาที่เป็น page และ post เรียบร้อยแล้ว ในส่วนต่อมาเราจะมาดูกันว่าการแปลภาษาตรงส่วนเมนู เขาทำกันยังไงบ้าง

1. ให้เราไปที่ส่วนปรับแต่ง Menu ที่ Appearance โดยดูตรงแถบแสดงภาษา เลือกเป็น thai จากนั้นก็เราให้เรา create a new menu ได้เลย

create menu thai

เมื่อเราทำทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้เมนูภาษาไทยเพิ่มเข้ามาอีก 1 ชุด ดูภาพประกอบนะครับ

main menu thai wpml

จากนั้นเราลองไปดูผลงานจริงที่หน้าเว็บไซต์ของเราเลย ว่ามันเปลี่ยนภาษาหรือไม่ จากรูปภาพสังเกตว่าเมนูของเราเปลี่ยนเป็นภาษาไทยแล้วครับ

main menu thai finish

การแปลภาษาตรงส่วน Widget

คราวนี้มาดูต่อ ถ้าเราจะแปลภาษาในส่วนของ Widget ต่างๆ หล่ะ เขามีวิธีการอย่างไรกันบ้าง ดูที่รูปภาพประกอบนะครับ ตอนนี้เว็บตัวอย่าง ส่วนของ footer ยังแสดงเป็นภาษาอังกฤษอยู่

แปลภาษาที่ footer

ขั้นตอนการแปลภาษาตรงส่วนของ Widget มีดังนี้ครับ

1. กลับไปที่ส่วนของปลั๊กอิน WPML ให้คลิกที่ String translation

String Translation

2. ในหน้าของ String Translation นี้ หากเราต้องการแปลตรงส่วนไหนแบบที่ละคำ ก็ให้เราเสิรจหาส่วนที่ต้องการแปลได้เลย ในที่นี่เราจะแปล widget เราก็พิมพ์คำว่า widget ในช่อง Select strings within domain เพื่อให้ระบบค้นหาเฉพาะ widget มาแสดง

จากนั้น หากเราต้องการแปล widget ไหน ให้เราคลิกตรงคำว่า translation เพื่อแปลเป็นภาษาที่เราต้องการได้เลยครับ

translate widget

แปลเป็นภาษาที่เราต้องการแล้วอย่าลืม ติ๊ก complete และ save ให้เรียบร้อยด้วยนะครับ จากนั้นเราไปดูผลงานหน้าบ้านเว็บไซต์ของเรากัน ว่าการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นไทยเรียบร้อยดีมั้ย

edit widget complete

หากเราต้องการแปล widget ส่วนอื่นๆ เราก็สามารถไล่หาจากตรงส่วน String Translation ได้เลยครับ

บทสรุป

แม้ว่า การทําเว็บหลายภาษา โดยใช้ปลั๊กอิน WPML จะใช้งานได้ไม่ยาก แต่ระบบจะทำงานหนักกว่าแยกเว็บ เนื่องจากต้องคอยเช็คตลอดว่าขณะนั้นอยู่ในภาษาอะไร ทำให้มักจะแสดงผลช้ากว่า ถ้าทำเว็บเล็กๆ มีไม่กี่หน้า ใช้งานปลั๊กอินนี้ได้ไม่มีปัญหา แต่หากเราเป็นเว็บใหญ่ การทำแยกข้อมูลเป็นคนละเว็บไปเลยจะดีกว่าครับ

โดยเฉพาะเว็บร้านค้า ทำเป็นคนละเว็บ แยกอีกเว็บนึงไปที่ซับโดเมนเลยจะง่ายกว่า เพราะมันต้องมีการแปลในส่วนของ ข้อมูลสินค้า / การจัดกลุ่มสมาชิก / แบบฟอร์ม / อีเมลอัตโนมัติที่ส่งให้สมาชิก และอีกมากมาย หากใช้งานปลั๊กอินตัวนี้ การแปลเองทีละส่วนคงยุ่งหน้าดูครับ

เพิ่มเติม คลิปสอนการใช้งานปลั๊กอิน WPML

คอร์สเรียน SEO ออนไลน์

เรียน SEO ออนไลน์

ทำเว็บให้ติดหน้าแรก Google
โดยไม่ต้องลงโฆษณา
เพิ่มยอดขายบนโลกออนไลน์

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถซื้อคอร์สเรียนในราคาพิเศษเพียง 3,500 บาท

สมัครเรียน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

======

ติดตามอ่านสาระน่ารู้ การทำเว็บไซต์สำหรับมือใหม่ ด้วย WordPress พร้อมกับให้ความรู้เรื่องการตลาดออนไลน์ และการปรับแต่ง SEO ให้ติดอันดับ google ได้ที่ padveewebschool.com

ที่นี่เราสอนทำเว็บไซต์ถึงบ้าน.