บทความเรื่องนี้ถือเป็น Blueprint การสร้างเว็บของผมเอง ผมจะเปิดหลังบ้านเว็บ PadveeWebschool ว่าใช้โฮสอะไร ใช้ธีมอะไร มีปลั๊กอินอะไรบ้าง รวมถึงแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการทำ SEO
เผื่อเป็น Guideline สร้างเว็บสำหรับผู้เริ่มต้น หากไม่รู้จะใช้เครื่องมือตัวไหนดี เอาตามผมเลยก็ได้ ง่ายดี ไม่ต้องเสียเวลา ลองผิด ลองถูก
โฮสติ้งที่ใช้ คือ SiteGround
SiteGround เป็นโฮสติ้งระดับโลก และเป็นโฮสที่ WordPress.org แนะนำให้ใช้อย่างเป็นทางการด้วย
จากการทดลองเลือกใช้โฮสมาหลายเจ้า ในความรู้สึกของผมโฮส Siteground มีความเสถียรมากที่สุด ความเสถียรในที่นี้ ไม่ได้วัดจากว่าโฮสเร็วหรือช้า อย่างเดียว
แต่หมายถึงการทำงานบน WordPress ทั้งหมด การทำงานรวมกับธีม และปลั๊กอินต่างๆ แต่ละโฮสจะมีการตั้งค่า Server ไม่เหมือนกัน บางโฮสจะจำกัดทรัพยากรของ Server ทำให้เราไม่สามารถใช้ปลั๊กอินบางตัว ที่มีการเรียกใช้ทรัพยากรหนักๆ ได้
แต่หากคุณจะเลือกใช้โฮส Siteground ตามผม ให้เลือกเป็น WordPress Hosting แพคเกจ GrowBig หรือ GoGeek ขึ้นไป เพราะเราสามารถใส่โดเมนได้หลายเว็บ
แต่มีข้อควรระวังก็คือ ค่าใช้จ่ายปีแรกจะราคาถูก เพราะจะเป็นราคาที่มีส่วนลด แต่พอปีต่ออายุ คุณต้องเสียราคาเต็ม ดังนั้นคุณต้องพิจารณาเรื่องค่าใช้จ่ายให้ดี ปีต่อไปจะเสียค่าบริการหลักหมื่นขึ้นไปนะ
ธีมที่ใช้ คือ Flatsome Theme
ธีม Flatsome คือ ธีมที่เป็น อันดับ 1 Best Selling WooCommerce Theme บน ThemeForest.net
แม้ว่าธีมนี้จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เหมาะกับการทำเว็บขายของโดยเฉพาะ แต่เราก็สามารถใช้ธีมนี้ สร้างเว็บประเภทอื่นๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เว็บคอนเทนต์แบบเว็บของผม เว็บบริษัท หรือเว็บบริการทั่วไป
หากคุณอยากเห็นว่าธีม Flatsome สามารถสร้างเว็บอะไรได้บ้าง ลองเข้าไปดูตัวอย่างเว็บเหล่านี้ >> ตัวอย่างเว็บไซต์ WordPress ที่สร้างจากธีม Flatsome
จุดเด่นของธีม
- เป็น Lifetime license คือซื้อครั้งเดียว อัพเดทได้ตลอด ไม่ต้องเสียค่าต่ออายุรายปี
- มี Page Builder เป็นของตัวเอง ทำให้เว็บมีความเสถียร และโหลดไว
- รองรับ Woocommerce มีการพัฒนาให้อัพเดทตาม Woocommerce ตลอด
- มีฟังชั่นสำหรับการทำเว็บร้านค้ามาให้ปรับแต่งจากธีมได้โดยตรง ช่วยให้เว็บของเราไม่ต้องใช้ปลั๊กอินเยอะเกินไป
- มีคู่มือเป็นภาษาไทย ซึ่งผมจัดทำขึ้นมาเอง สำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้นโดยเฉพาะ
เข้าดู คู่มือสอนใช้งานธีม Flatsome
ปลั๊กอินที่ใช้ มีทั้งหมด 11 ตัว
แน่นอน WordPress คือ เครื่องมือมหัศจรรย์ หากคุณใช้งาน WordPress เป็น คุณสามารถสร้างเว็บอะไรก็ได้ ได้ทุกแบบ ทุกไอเดีย
แต่ในการใช้งานจริง คุณต้องเข้าใจธรรมชาติ และข้อจำกัดของเขาด้วย ไม่ใช่ว่านึกอยากจะได้ฟังชันอะไร ก็ไปโหลดปลั๊กอินมาใส่อย่างเดียว เพราะการทำเว็บทุกอย่างตามใจที่ต้องการ ต้องแลกมาด้วยการใช้ปลั๊กอินจำนวนมาก
WordPress เป็น open source ที่คนใช้งานจำนวนมาก อะไรก็ตามที่มีคนใช้งานจำนวนมาก ย่อมถูกโจมตีจาก Hacker มากตามไปด้วย
ดังนั้น ตัว WordPress เอง ต้องมีการอัพเดทตัวเองให้เพื่อปิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา รวมถึงอัพเดทเพื่อพัฒนาการใช้งานให้ดียิ่งขึ้นด้วย
ปัญหาที่จะตามมาก็คือ พวกปลั๊กอินต่างๆ ไม่ได้ถูกสร้างจาก WordPress โดยตรง แต่สร้างจากนักพัฒนาโปรแกรมทั่วไป เพื่อให้มาทำงานได้บน WordPress ร่วามกัน มันจะมีปัญหา หากคุณเลือกปลั๊กอินไม่ดี หลายๆ ปลั๊กอินบางครั้งก็อัพเดทตัวเองตาม WordPress ไม่ทัน ทำให้เกิดปัญหาเว็บพังตอนที่เราไปกดอัพเดท WordPress อยู่บ่อยๆ
ดังนั้น หากคุณต้องการทำเว็บให้มีประสิทธิภาพ ผมแนะนำให้คุณใช้งานปลั๊กอินให้น้อยที่สุด ใช้เท่าที่จำเป็น ฟังชั่นไหนที่คุณอยากได้ ผมอยากให้คุณวิเคราะห์ต่อไปว่า มันจะเป็นต่อ User จริงๆ หรือไม่ หรือแค่เราอยากเอามาใส่เว็บให้มันดูเท่ๆ แต่เป็นสิ่งที่ User ไม่ได้สนใจ คุณต้องคำนึงจุดนี้ให้ดีครับ
แค่ทำเว็บได้ กับทำเว็บให้ดี มีรายละเอียดแตกต่างกันมาก เราจะทำเว็บให้มีคุณภาพดีได้ พื้นฐานต้องแน่นก่อนนั้นเอง ความรู้พื้นฐาน WordPress ทั้งหมดผมทำเป็นคู่มือเตรียมไว้ให้ทุกคนแล้ว ลองเข้าไปดูที่นี่นะ คู่มือใช้งาน WordPress 2021 ฉบับสมบูรณ์
ปลั๊กอิน Akismet เอาไว้ป้องกัน spam comment
ปัญหาปวดหัวของคนที่สร้างเว็บ แล้วเปิดให้คนมาคอมเม้นท์ได้ คือ เราต้องเจอกับพวกคอมเมนท์แสปมจำนวนมาก ทำให้ไปบดบังคอมเมนท์จริงๆ ของ User และทำให้เว็บเราดูรกด้วย
ทางแก้ไข หากคุณไม่ปิดคอมเมนท์ไปเลย คุณก็สามารถใช้ปลั๊กอินตัวนี้ได้ครับ ซึ่ง Akismet เป็นปลั๊กอินตัว Default ที่มาพร้อมกับการลง WordPress เลย หากคุณจะใช้งานคุณต้องไปลงทะเบียนปลั๊กอินก่อนด้วยนะ เขาจะมีฟรีแพคเกจอยู่ ตอนสมัครต้องดูให้ดี มันจะเป็นเหมือนต้องจ่ายเงิน กดเลื่อนแพคเกจกลับมันจะเป็นตัวฟรี ลองดูกันนะ
ปลั๊กอิน All in one Wp Migration ใช้สำหรับการ Backup เว็บ และย้ายเว็บ
All in one Wp Migration เป็นปลั๊กอินที่ผมแนะนำให้ทุกคนใช้เลย เพราะเราไม่รู้ว่า เว็บของเรามันจะพังกันตอนไหน วันดีคืนดี เผลอไปทำอะไรผิด หรือไปโดนไวรัส เว็บอาจจะพังขึ้นมาก็ได้ การที่เราคอย Backup เว็บบ่อยๆ จึงเพิ่มความอุ่นใจได้นั้นเอง
ปลั๊กอินนี้ใช้งานดีมาก ย้ายเว็บ หรือ backup เว็บ ภายในไม่กี่คลิก และใช้เวลาแป๊บเดียว แต่ตัวฟรีจะมีข้อจำกัด คือตอน Backup เว็บคุณสามารถ Export เว็บได้ไม่จำกัดขนาดของไฟล์เว็บ แต่ตอนที่คุณจะ import หรือกู้คืนเว็บ เขาจำกัดไว้ที่ 512MB หากเว็บคุณมีขนาดใหญ่เกิน 512MB คุณต้องซื้อตัวเสียเงินเท่านั้นครับ
สำหรับใครยังใช้งานปลั๊กอินนี้ไม่เป็นลองดูคู่มือนี้ครับ วิธี backup เว็บไซต์ กู้คืน หรือย้ายเว็บ WordPress
ปลั๊กอิน Chaty ใช้ทำปุ่ม Line ไว้ติดต่อมุมเว็บไซต์
สำหรับคนที่ต้องการทำช่องทางให้ลูกค้าติดต่อผ่าน Line Facebook หรือโทรศัพท์ ปลั๊กอินที่ผมทดสอบแล้วว่าใช้งานดี และเบา คือปลั๊กอิน Chaty ครับ หลายๆ ปลั๊กอินอาจจะมีลูกเล่น หรือการปรับแต่งได้มากกว่าตัวนี้ แต่บางตัวก็หนักเว็บ ทำให้เว็บโหลดช้าได้ โดยเฉพาะปลั๊กอินที่เป็น script 3rd party
ปลั๊กอิน Chaty มีทั้งตัวฟรีและตัวเสียเงิน ตัวฟรีจะให้เราเลือกใช้ได้ 2 ปุ่ม และมีป้ายชื่อปลั๊กอินปรากฎอยู่ด้านล่างไอคอนปุ่ม Chat ด้วย
แต่ปุ่ม Line Chat บนเว็บผม ผมใช้ปลั๊กอินแบบตัวเสียเงิน เพื่อจะได้เอาชื่อปลั๊กอินออก และตัวเสียเงินยังมีฟังชั่นขยับตำแหน่งหรือเปลี่ยนรูปไอคอนต่างๆ ได้อีกด้วย
Contact Form7 ใช้สร้างฟอร์มเก็บข้อมูล
Contact Form7 เป็นปลั๊กอินฟรี ที่ใช้สำหรับการสร้างฟอร์มเก็บข้อมูล แบบที่ไม่ซับซ้อน เก็บข้อมูลทั่วๆไป เช่น ชื่อ เบอร์โท อีเมล และใส่ช่องข้อมูลเพิ่มเติมให้ลูกค้า เขียนส่งมาให้เรา ถ้าใครมีหน้า Contact แล้วเก็บข้อมูลลูกค้าเพียงเท่านี้ ก็ใช้ปลั๊กอินตัวนี้ตามผมได้เลยครับ
ปลั๊กอิน Imagify ใช้สำหรับย่อขนาดไฟล์ของรูปภาพ
ปัญหาเว็บโหลดช้า ส่วนใหญ่มาจากการใช้รูปภาพขนาดใหญ่เกินไป หากคุณต้องการทำเว็บให้โหลดเร็วๆ รูปภาพทุกใบ ที่คุณอัพโหลดขึ้นเว็บ อย่าให้มีขนาดไฟล์ไซส์เกิน 200kb
บางครั้งเราย่อขนาดบนโปรแกรม photoshop จนสุดแล้ว มันก็บีบไฟล์ให้ต่ำกว่า 200kb ไม่ได้ แต่ตัวปลั๊กอิน Imagify ตัวนี้ช่วยได้นั้นเอง
ปลั๊กอินนี้มีทั้งแบบตัวฟรีและตัวเสียเงิน แต่ตัวฟรีการใช้งานค่อนข้างจำกัด ถ้าเว็บคุณมีรูปภาพจำนวนมากคงต้องใช้ปลั๊กอินนี้แบบเสียเงินแทน มีค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน แพคเกจเริ่มต้นที่ 4.99us ต่อเดือน บีบไฟล์ได้เฉลี่ยเดือนละ 5000 รูป
ตัวปลั๊กอิน Imagify จำทำงานแบบอัตโนมัติ พอคุณอัพโหลดรูปขึ้นเว็บ ระบบมันจะย่อขนาดไฟล์รูปให้คุณเอง นอกจากย่อยขนาดรูป ตัวปลั๊กอินยังสามารถแปลงนาสกุลของรูปภาพ เช่น .png หรือ .jpg ให้กลายเป็นนามสกุล .webp ซึ่งเป็นนามสกุลของรูปภาพที่ทางฝั่ง Google แนะนำให้ทุกเว็บเลือกใช้อีกด้วย
ปลั๊กอิน reCaptcha ใช้ป้องกัน Bot Login
ปัญหาเว็บ WordPress ถูกแฮค หรือติดไวรัส ประมาณ 90% เกินจากผู้ใช้งานตั้งรหัสผ่านคาดเดาง่ายเกินไป ซึ่งการแฮคที่จะเจาะเข้ามาตรงหน้า login นั้น เราเรียกกันว่า การโจมตี Brute Force Attack
การรักษาความปลอดภัยบนเว็บผมจึงใช้ปลั๊กอิน reCaptcha มาเป็นตัวหลักเพียงตัวเดียว ในการป้องกัน Bot Hack ครับ แต่ผมใช้แบบตัว Pro นะ คือต้องซื้อแบบตัวเสียเงินมาใช้ครับ เพื่อจะได้มีฟังชั่น recaptcha ควมคุมไปถึง ตัว contact form7 , WooCommerce และบน Comment ถ้าเราใช้ตัวฟรีจะมีเปิดใช้งาน recaptcha ได้เฉพาะบนหน้า Login อย่างเดียวครับ
เว็บผมไม่ได้มีการใช้พวกปลั๊กอินรักษาความปลอดภัยตัวอื่นๆ เช่น Wordfence หรือ iThemes Security ซึ่งผมมองว่าไม่จำเป็น และมันยังทำให้เว็บเราหนักและโหลดช้าอีกด้วยครับ
หลักการดูแล้วเว็บให้ปลอดภัยของผมมีแนวทางดังนี้
- เลือกโฮสที่มีคุณภาพ
- ใช้ธีมและปลั๊กอินที่มีความน่าเชื่อถือ
- อัพเดท WordPress ธีม และปลั๊กอินให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ
- ตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก
- เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ทุก 3 เดือน
ปลั๊กอิน Seed Fonts ใช้เปลี่ยนฟอนต์บนเว็บ
สำหรับปลั๊กอินนี้คุณอาจไม่จำเป็นต้องเลือกใช้ตามผม เพราะแต่ละธีมตอนนี้ ส่วนใหญ่จะมีฟังชั่นดึง Google Font มาแสดงผ่านฟังชั่นจากธีมได้เองอยู่แล้ว แค่ว่าในตอนที่ผมสร้างเว็บครั้งแรก ธีม Flatsome ที่ผมใช้เขายังไม่มีฟังชั่นนี้ ผมจึงเลือกใช้ปลั๊กอิน seed font มาใช้ในการดึงฟอนต์จาก Google font แค่นั้นครับ เลยยังไม่ได้ลบออกนั้นเอง
ปลั๊กอิน Events Calendar ใช้สร้างตารางคิวงาน
เป็นปลั๊กอินสำหรับสร้างตารางงาน เพื่อเอาไว้ให้คนที่สนใจที่จะมาเรียนกับผมเลือกวันที่ต้องการเรียนเองได้ สำหรับใครที่ทำธุรกิจด้านการสอนลองเอาปลั๊กอินนี้ไปใช้ดูได้นะ
หน้าตาตอนผลลัพธ์ที่หน้าบ้านของปลั๊กอินจะเป็นประมาณนี้ครับ
ปลั๊กอิน Wp Rocket ใช้ปรับความเร็วเว็บ
Wp Rocket คือ ปลั๊กอินที่ช่วยปรับแต่งเว็บ WordPress ของคุณให้โหลดเร็วขึ้น และมีขั้นตอนใช้งานที่ง่ายมาก โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน Technical เลย คุณก็สามารถปรับแต่งเว็บในจุดที่เป็นองค์ประกอบด้านเทคนิคได้ครบทั้งหมด
องค์ประกอบปรับความเร็วด้านเทคนิค มีดังนี้
- Page Caching
- Cleaning Database
- Minification / Concatenation
- GZIP Compression
- Lazy Load
ดูคำอธิบายแต่ละองค์ประกอบว่าหมายถึงอะไร จากบทความนี้ครับ วิธีทำเว็บ WordPress ให้โหลดเร็ว
ถ้าเราไม่ใช้ปลั๊กอิน Wp rocket เว็บของเราต้องใช้ปลั๊กอินหลายตัวมาก ถึงจะสามารถปรับแต่งทางเทคนิคให้ครบ ทั้ง 4 ด้าน ผมจึงใช้ปลั๊กอิน Wp rocket แทนครับ แต่ว่าปลั๊กอินตัวนี้ไม่ฟรีนะ มีค่าใช้จ่าย 39us ต่อปีครับ
ปลั๊กอิน Yoast SEO ใช้ปรับแต่งด้าน SEO
Yoast SEO คือ ปลั๊กอิน ที่ช่วยปรับแต่งด้าน Technical SEO ให้เป็นมิตรกับการค้นหาคำของ Google ตัวปลั๊กอินนี้ไม่ได้ช่วยให้เว็บเราติดหน้าแรก แต่เขาจะช่วยเราเช็คลิสต์โครงสร้างเนื้อหาหน้าเว็บของเรา โดยใช้สัญญาณไฟจราจรเป็นตัวบอกว่าโครงสร้างบทความของเราดีพอหรือยัง
ถ้ามีไฟแดงปรากฏขึ้น โครงสร้าง SEO ในบทความนี้ยังไม่ดี ต้องปรับแต่งอีกนะ ถ้าเป็นสีเหลืองแสดงว่าพอใช้ได้ แต่ถ้าไฟเขียวติดเมื่อไหร่ แสดงว่าบทความของเรา มีการใช้ เทคนิคทำ SEO ที่ดีเยี่ยม และถูกหลักการในแบบที่ Google ต้องการ แล้วนั้นเอง
ผมไม่สนใจ ไฟเขียว ไฟแดง จาก Yoast
แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องไปซีเรียสเรื่องการปรับไฟเขียวไฟแดงมากเกิน เพราะปลั๊กอินเรานี้เขายังไม่สามารถใช้ตรวจเช็คภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ผมจึงไม่สนใจไฟเขียน ไฟแดง ผมจะเน้นทำเนื้อหาเขียนให้เป็นธรรมชาติ อ่านรู้เรื่องเป็นสำคัญครับ
นอกจากความสามารถในการตรวจเช็ค On page SEO ปลั๊กอิน Yoast ยังมีความสามารถอะไรอีกบ้าง ลองดูคำแนะนำจากคลิปนี้นะ
เว็บผมไม่ได้ใช้ Cloudflare
cloudflare ไม่ได้ทำให้เว็บเราเปิดเร็วขึ้น แต่เขาช่วยให้คนที่อยู่ต่างประเทศเข้าเว็บเราแล้วไม่รู้สึกช้าเกินไป เว็บผมคนเข้าเว็บคนไทยเป็นหลักจึงไม่จำเป็นต้องใช้
Cloudflare จะช่วยป้องกันเว็บล่มด้วย ถ้าเว็บเรามี traffic หลักหมื่นหลักแสนต่อวัน แต่ถ้าเราเป็นเว็บเล็กๆ traffic ต่อวันไม่เยอะ ไม่ใช้ cloudflare ผมรู้สึกว่าสเถียรกว่า
หากใช้ cloudflare แต่ละวันความรู้สึกตอนเปิดเว็บบางวันก็เร็ว บางวันก็ช้านั้นเอง
Google page speed ได้คะแนนเพียงแค่นี้
แน่นอนการทำเว็บให้โหลดเร็ว คือ ปัจจัยสำคัญสำหรับการทำ SEO แต่คุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คะแนน page speed สูงๆ ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าเว็บคุณจะเปิดเว็บเร็ว ในการใช้งานจริง
ดังนั้น การวัดความเร็วเปิดหน้าเว็บ ผมจะโฟกัสที่ความรู้สึกตอนเปิดใช้งานเว็บจริงเป็นหลัก ถ้าเว็บของคุณเปิดแล้วไม่ช้าเกิน 2 วินาที ถือว่าเว็บนั้นผ่านเกณฑ์เรื่องของความเร็วแล้วนั้นเอง
ส่วนตัวตัวเลขคะแนะเราจะได้เท่าไหร่ ก็ปล่อยไป เพราะคะแนนเยอะไม่ได้เป็นตัวการันตีว่าเว็บคุณจะเปิดเร็ว หรือมีเนื้อหาที่มีคุณภาพ และบางจุดมันเป็นข้อจำกัดของ WordPress ซึ่งเราไม่สามารถไปแก้ไขอะไรได้อีกด้วย ดังนั้นเรื่องคะแนนพวกนี้ผมจึงปล่อยผ่านครับ
หน้าเว็บบนมือถือ ไม่ผ่านเกณฑ์ Core Web Vitals
Core Web Vitals คือ หลักเกณฑ์ใหม่ ที่ Google พึ่งเริ่มมีการวัดผลในด้าน Performance ของตัวเว็บ แต่จุดนี้มันคือการปรับแต่งทางเทคนิคล้วนๆ
หากการทำ SEO คือ การขับรถเดินทางไปสู่จุดหมาย Core Web Vitals คือคะแนน Performance ของตัวรถที่เราขับ ดังนั้นรถที่เราใช้ขับคือ WordPress หากคุณใช้ WordPress เราก็ไม่สามารถปรับจูนอะไรได้มาก เราต้องรอให้ WordPress เขาพัฒนาตัวเอง ผมเชื่อว่าเดี๋ยว WordPress เวอร์ชั่นต่อไป จะทำให้เว็บของเราผ่านเกณฑ์นี้ได้เอง โดยที่เราไม่ต้องทำอะไร เพราะคนคนใช้ WordPress เราเป็นเพียงผู้ใช้งาน เราเป็นเพียงแค่คนขับรถเท่านั้น
ดังนั้น หากคุณอยากผ่านเกณฑ์ Core Web Vitals คุณต้องเปลี่ยนเครื่องมือที่ใช้สร้างเว็บใหม่ครับ แต่ถ้าคุณจะใช้ WordPress ต่อไป ผมแนะนำว่าคุณไม่ต้องกังวลกลับเรื่องนี้ เดี๋ยวรอให้ WordPress เขาพัฒนาตัวเองแค่นั้นครับ
จำนวน Backlink ทั้งเว็บ เช็คผ่าน Ahrefts
Backlinks เป็นปัจจัยสำคัญในการทำ seo แต่ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำ SEO
เพราะว่า หาก Google จัดอันดับเว็บ ด้วยการวัดจากจำนวนของ Backlink เป็นหลัก มันก็จะเป็นระบบที่ไม่ยุติธรรม เพราะจำนวนของ Backlink ไม่ได้เป็นตัวการันตีว่า เนื้อหาบนเว็บนั้น จะทำมาดี หรือเขียนแล้วอ่านรู้เรื่อง
ด้วยเหตุนี้ Google จึงพัฒนาอัลกอลิทึ่มมากมาย เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการจัดอันดับเว็บไซต์ และตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา Google มีความฉลาดและสามารถคัดแยก Backlink ที่ดี และไม่ดีได้แล้วนั้นเอง
ดังนั้นคำแนะนำของผม ในการทำเว็บ หรือทำ seo คือ ทำเนื้อหาบนเว็บให้ดี เน้นทุกอย่างไปที่ด้านคุณภาพมากกว่าปริมาณ ถ้าคุณต้องการทำ Backlink จงมองหาแต่ Backlink ที่มีคุณภาพ
ดังนั้นอันดับแรกคุณต้องมีความสามารถในแยกแยะให้ได้ก่อนว่า Backlink ที่ดีต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ผมแนะนำให้คุณลองอ่านบทความนี้เพิ่มเติมดูครับ Backlink คืออะไร เรียนรู้วิธีทำ Backlinks ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
Keyword ที่ติดอันดับบน Google Search Console
การทำ SEO นั้นแท้จริงแล้วไม่มีอะไรซับซ้อน Google เกิดเพื่อช่วยเหลือให้ผู้คนเจอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หน้าที่เราก็มีเพียงการทำคอนเทนต์ในรูปแบบที่ Google ต้องการ คือ ลูกค้าเราคือใคร เขาอยากรู้เรื่องอะไรบ้าง เราก็ทำคอนเทนต์ หรือบทความเพื่อเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า หรือต่อผู้คนแค่นั้น แล้ว Google ก็จะให้รางวัลกับคุณเอง
ไม่มีใครหลอก Google ได้ ดังนั้นโฟกัสที่การทำเนื้อหาเพื่อให้คนจริงๆ อ่านแล้วได้ประโยชน์เป็นสำคัญครับ
สถิติ 1 เดือนบน Google Analytics
แต่ละธุรกิจมีความ Mass หรือ Niche ไม่เท่ากัน ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องวางเป้าหมายว่าเว็บเราต้องมี Traffic หลักแสน หรือหลักล้าน ต่อเดือน
แต่ให้คุณโฟกัสไปที่ลูกค้าของคุณ เขาคือใคร เขาอยากรู้เรื่องอะไร ขอแค่ให้เขา เข้าไปค้นหาเรื่องนั้นแล้วเจอเว็บของเราก็เพียงพอแล้ว
สรุป
ผมจะเน้นทำเว็บแบบเรียบๆ ไม่ได้มีระบบอะไรพิเศษ เน้นการใช้ปลั๊กอินให้น้อยที่สุดพยายามทำคอนเทนต์ โดยโฟกัสไปที่กลุ่มลูกค้าของเรา คนเหล่านั้นอยากรู้อะไร สนใจอะไร เราก็ทำคอนเทนต์มาตอบโจทย์อย่างเดียว
ในการทำ SEO ผมให้ความสำคัญ
ด้านเทคนิค 20%
ด้านคอนเทนต์ 80%
โดยยึดแนวคิดนี้เป็นหลัก
“Google only loves you when everyone else loves you first.”
จงทำเว็บเพื่อให้คนจริงๆ อ่านแล้วได้ประโยชน์ แล้วเดี๋ยว Google จะรักเว็บของเราเองครับ
เรียนออนไลน์ฟรี คอร์สเรียนสร้างเว็บ WordPress+Woocommerce
คลิกเข้าเรียนที่นี่- การจดโดเมนและเช่าโฮส
- การทำ HTTPS
- การติดตั้ง Wordpress
- การใช้ WordPress พื้นฐาน
- การติดตั้งและตั้งค่าพื้นฐาน Woocommerce
- การลงสินค้าประเภทต่างๆ
- การตั้งค่าจัดส่งประเภทต่างๆ
- การตั้งค่าชำระเงิน 3 แบบ
โอนเงิน paypal และบัตรเครดิต - การสร้างหน้าฟอร์มแจ้งชำระเงิน
- การสร้าง Contact Form
- การย้ายเว็บและการ backup เว็บ
- การติดตั้ง Google Analytic
และ Google Search Console
บทเรียนทั้งหมดนี้ ทุกคนสามารถเข้าเรียนได้ฟรี โดยไม่ต้องสมัครเรียน
ความแตกต่างระหว่าง แค่ทำเว็บได้ กับทำเว็บให้ดี ขึ้นอยู่กับความรู้พื้นฐานนั้นเอง
พื้นฐานต้องแน่นก่อน ถึงจะสามารถต่อยอดทำเว็บให้ดีในอนาคตได้ครับ
ประชาสัมพันธ์
สำหรับท่านใดที่อ่านบทความนี้แล้ว สนใจการสร้างเว็บร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress + Woocommerce แบบมืออาชีพ ในวันที่ 21 - 22 สิงหาคม 2564 นี้ ผมได้เปิดคอร์สสอน Woocommerce Expert แบบกลุ่มเล็กๆ 1 รอบ สอนสดรอบละ 6 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์สูงสุด เรียนรู้และทำตามไปพร้อมๆ กันได้
รายละเอียดคอร์สเรียน
สร้างเว็บร้านค้าออนไลน์ Woocommerce expert
- ค่าเรียน 9,500 บาท 21 - 22 สิงหาคม 2564
- เวลาเรียน 10.00- 16.00 น.
- เรียนกลุ่มเล็กรอบละ 6 คนเท่านั้น (ว่าง)
- เราสอนด้วยธีม Flatsome Theme
(No.1 Best selling Woocommerce Theme 2020) - สถานที่เรียน Seatz Station
- ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3
- จองที่นั่งเรียนผ่าน Lind ID : padveewebschool ได้เลยครับ
ทุกคอร์สเรียนรอบสอนสด
ได้คอร์สเรียนออนไลน์แถมฟรีครับ
คอร์สเรียนนี้เหมาะกับใคร ?
- เนื่องจากคอร์สเรียนนี้เราสอนเป็นกลุ่ม จึงไม่เหมาะกับทุกคน
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เคยใช้งาน WordPress มาบ้าง รู้พื้นฐานแบบงูๆปลาๆ หากคุณเคยลง WordPress เอง ลงปลั๊กอินได้ เคยสร้าง page หรือ post แบบนี้เรียนได้
- หรือหากคุณไม่เคยใช้งาน WordPress มาก่อนเลย แต่คุณมีทักษะไอที เช่น เคยใช้พวกโปรแกรมกราฟฟิค Photoshop, illustrator เคยใช้พวกโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ อะไรก็ได้มาบ้าง
- ถ้าคุณเคยใช้โปรแกรมดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าคุณมีทักษะไอที สามารถลงเรียนคอร์สนี้ได้
- เนื่องจากเราเรียนกันหลายคน หากผู้เรียนไม่มีทักษะไอทีเลยจะทำให้เรียนรู้ตามเพื่อนไม่ทันนั้นเอง
คอร์สเรียนนี้ไม่เหมาะกับใครบ้าง ?
- ผู้ที่ไม่มีทักษะด้านไอทีต่างๆ
- ผู้สูงวัยที่ใช้คอมพิวเตอร์ยังไม่คล่อง หรือหากรู้สึกว่าตัวเองเรียนรู้ได้ช้า คุณไม่เหมาะกับคอร์สเรียนนี้
- สำหรับคนที่ไม่มีทักษะด้านไอที หรือคิดว่าตนเองเรียนรู้ได้ช้า และชอบความเป็นส่วนตัว แต่ต้องการที่จะสร้างเว็บด้วยตนเอง
- ผมแนะนำให้ลงเรียนรอบสอนแบบตัวต่อตัวจะดีที่สุดครับ
แผนที่สถานที่เรียน (รอบสอนกลุ่ม)
สถานที่เรียน Seatz Station
ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี
ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3