จะทำ SEO ให้ได้ผล เราต้องรู้จักวิธีวิเคราะห์เว็บไซต์คู่แข่ง ว่าสู้ยาก หรือสู้ง่าย เมื่อรู้เขา รู้เรา ย่อมทำให้การทำ SEO ของคุณมีโอกาสชนะ มากกว่าแพ้
รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง การทำ SEO ก็เช่นเดียวกัน หากคุณต้องการชนะในเกมส์นี้ คุณต้อง วิเคราะห์ SEO และเปรียบเทียบเว็บไซต์ คู่แข่งของคุณได้
สำหรับบทความนี้ผมจะมาแนะนำเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ SEO ที่เป็นตัวฟรี แต่ประสิทธิภาพ ไม่ได้ด้อยไปกว่า SEO tool แพงๆ เลย หากคุณใช้เครื่องมือเรานั้นเป็น
**หมายเหตุ วิธีการต่าง ๆ ที่ผมนำเสนอในบทความนี้ เป็นเพียงการหาวิธีวิเคราะห์เว็บจากประสบการณ์ส่วนตัวในการทำ SEO ของผมเท่านั้น ไม่ได้การันตีว่าสิ่งที่ผมเขียนจะถูกต้อง 100%
สารบัญเนื้อหา
- เตรียมเครืองมือ
- การเช็คค่าน้ำหนักตัวเว็บ
- เช็คอายุโดเมน
- เช็ค Mobile friendly
- ดู Traffic คนเข้าเว็บ
- เช็คความเร็วเว็บ
- ดูการเขียน Title
- เช็คโครงสร้างเนื้อหา
- เช็ค backlink
- เครื่องมือเช็คธีม เช็คปลั๊กอิน
1. เตรียมเครื่องมือ SEO
เครื่องมือวิเคราะห์ SEO หลักๆ ที่ผมใช้อยู่ประจำ จะเป็น extension ฟรีที่อยู่บน Chrome มีอยู่ 3 ตัวหลักๆ
- เช็คอันดับ Ranking เว็บของเรา
- ดู Bounce Rate, Daily Pageviews per Visitor และ Daily Time on Site ภาพรวมได้
- ดู keyword ที่มีคนค้นหาเยอะๆ
- ดูค่าเฉลี่ยความเร็วทั้งเว็บ
- ดูเว็บไซต์ที่ใกล้เคียงกัน
- เช็คโครงสร้างเนื้อหา ดูพวก Page Title, Meta Description
- เช็คจำนวนของ H1, H2, Alt text ในแต่ละหน้าเว็บดูความเร็วการเปิดหน้าเว็บ
- ดูค่า PA DA
- เช็คจำนวน internal link และ external
- วิเคราะห์คะแนน page score
- ดูสิ่งที่ต้องปรับปรุง เกี่ยวกับการปรับความเร็วเว็บ
ขั้นตอนการติดตั้ง Extension
ให้ไปที่ chrome.google.com/webstore/category/extensions
พิมพ์ชื่อ ส่วยขยาย (extension) ลงไป จากนั้นให้คลิก เพิ่มใน Chrome
สำหรับเครื่องมือ Lighthouse การใช้งานเราต้องใช้ตรวจเช็คผ่านโหมดไม่ระบุตัวตน (Incognito Mode) บน Google Chrome หลังจากลงส่วยขยายแล้ว เราต้องเข้าไปตั้งค่านิดหน่อยตามนี้
คลิกขวาที่สัญลักษณ์ Lighthouse ที่เมนู bar
คลิก อนุญาตให้ใช้โหมไม่ระบุตัวตน
หลังจากติดตั้งเครื่องมือวิเคราะห์เว็บไซต์เสร็จแล้ว เราจะมาเริ่มต้นวิเคราะห์เว็บคู่แข่งกันครับ
2. การเช็คค่าน้ำหนักตัวเว็บ
เป็นที่รู้กันดีว่าการทำ SEO แต่ละ keyword มีความยากง่ายแตกต่างกัน บางคำสู้ง่าย บางคำสู้ยาก ผมจึงขอเปรียบการทำ SEO เหมือนการชกมวย ซึ่งจะแบ่งเป็นรุ่นต่าง ๆ ตามน้ำหนักตัว
เช่นเดียวกัน หากเราจะทำ SEO แข่งกับใคร เราต้องรู้น้ำหนักตัวของเรา และน้ำหนักตัวเว็บคู่แข่ง ว่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันที่จะพอต่อยกันได้มั้ย เหมือนเราจะต่อมวย เราตัวเล็กนิดเดียว จะข้ามรุ่นไปต่อยกับยักษ์ใหญ่รุ่นเฮฟวี่เวท (Heavyweight) ที่หนัก 100 กิโล คงสู้ไม่ได้ คือ คงโดนน็อคตั้งแต่ยกแรกแล้วนั้นเอง
นำหนักตัวเว็บ = อันดับ Ranking ของแต่ละเว็บ
วิเคราะห์ SEO ด้วยการเช็คน้ำหนักตัวเว็บ
การเช็คนำหนักตัวเว็บ เราจะใช้ Alexa Traffic Rank เป็นเครื่องมือในการตรวจเช็ค ซึ่งมีวิธีการวิเคราะห์ดังนี้
เปิดเว็บคู่แข่งของเรา จากนั้นให้คลิกตัว Alexa Traffic Rank
ตัวเลขอันดับ Traffic Rank in TH คือ ค่าน้ำหนักตัว ยิ่งตัวเลขน้อย แสดงว่ามีอันดับที่ดี
** การจัดอันดับเว็บของ Alexa Traffic Rank ไม่ได้วัดที่จำนวน Traffic คนเข้าเว็บเพียงอย่างเดียว แต่เขาจัดลำดับเว็บ โดยวัดจาก 3 ค่าหลักๆ คือ
1. Bounce Rate คือ อัตราส่วนของคนเข้ามาเว็ปเรา แล้วอยู่แค่หน้าเดียว แล้วปิดไป ตรงจุดนี้ยิ่งน้อย ยิ่งดี
อ่านเพิ่มเติม: เทคนิคลด Bounce Rate
2. Daily Pageviews per Visitor คือ จำนวนหน้าที่คนเข้าเว็บ แล้วเปิดดูต่อไปเรื่อย ๆ จุดนี้ยิ่งเยอะยิ่งดี แสดงว่าเว็บไซต์เรามี Content น่าสนใจ
3. Daily Time on site คือ ค่าเฉลี่ยของเวลาที่คนอยู่บนเว็บไซต์ของเรา ยิ่งเขาอยู่บนเว็บเรานานเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ด้วยเช่นกัน
ดังนั้นเว็บที่มีค่า ranking สูง (ตัวเลขน้อย ๆ) ไม่ได้แปลว่าเว็บนั้นมีจำนวน Traffic มากอย่างเดียว แต่หมายความว่าเว็บนั้นมีความสมดุลของเว็บ (ค่า 3 เกฑณ์ด้านบนอยู่ในเกณฑ์ดี) ทำให้ Google มองว่าเว็บนั้นมีคุณภาพนั้นเอง หลายๆ กรณีเว็บที่มีจำนวนคนเข้าเว็บหลักแสน แต่ค่าคะแนน ranking อาจมีอันดับต่ำกว่าเว็บที่มี traffic หลักหมื่นก็ได้
ความหมายของศัพท์ต่างๆ
- Alexa Traffic Rank: อันดับเว็บเราเมื่อเปรียบเทียบกับเว็บทั้งหมดบนโลกนี้
- Traffic Rank in TH: อันดับเว็บเราเมื่อเปรียบเทียบกับเว็บทั้งหมดในประเทศไทย
- Sites Linking In: จำนวนเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือส่ง backlink กลับมายังเว็บของเรา
- Search Analytics: การวิเคราะห์เว็บภาพรวมทั้งหมด ต้องคลิกเข้าไปดูถึงจะเห็นข้อมูล
- Wayback Machine: ดูหน้าตาเว็บย้อนหลังได้ หากคุณคลิกเข้าไปดู จะมีการแสดงหน้าตาเว็บตั้งแต่ตอนเริ่มต้นสร้างเว็บ ไล่มาจนถึงปัจจุบัน ว่าเว็บๆ นันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
- Similar Sites: เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับเว็บนั้น
- Average: ค่าเฉลี่ยความเร็วของการเปิดเว็บจากทุกหน้า
แนวทางการวิเคราะห์
ให้ดูอันดับ ranking ระหว่างเว็บเรากับเว็บคู่แข่งใครอันดับสูงกว่ากัน (ตัวเลขยิ่งน้อยยิ่งดี) หากอันดับเว็บคู่แข่ง กับเว็บเราแตกต่างกันมาก คือ การทำ SEO ของเราจะสู้ยากหน่อย
- หากตัวเลข Traffic Rank in TH สูง คือ มากกว่า 20,000 ขึ้น แสดงว่าน้ำหนักตัวยังไม่ดี แบบนี้เราสู้ได้สบายๆ
- ค่า Sites linking in มีแค่ 1 แสดงว่า มี 1 backlink ถือว่าน้อยเกินไป ทำ SEO แข่งได้ไม่ยาก เราอาจต้องตามต่อว่า backlink ที่เขาได้มา มาจากเว็บใหญ่หรือไม่
- Average Load Time แสดงเป็น No Data แสดงว่าว่าเว็บนี้จำนวนหน้าที่มีคุณภาพดียังมีน้อยเกินไป ทำให้ Alexa ไม่สามารถประมวลผลได้
- หากตัวเลข Traffic Rank in TH ต่ำกว่า 5,000 แสดงว่าน้ำหนักตัวค่อนข้างดี มีความสมดุลของข้อมูล หากเว็บคู่แข่งเราเป็นแบบนี้อาจจะสู้ยากสักหน่อย
- ค่า Sites linking in มี 30 แสดงว่า มี 30 backlink เราอาจต้องตามต่อว่า backlink ที่เขาได้มา มาจากเว็บใหญ่หรือไม่ และเปรียบเทียบกับเว็บเรามี Backing มากน้อยเพียงใด
- Average Load Time 0.616 วินาที แสดงว่าว่าเว็บนี้เปิดหน้าเว็บเร็วมาก เราอยากจะเอาชนะเขา เราต้องทำเว็บให้เปิดเร็วกว่าเขา หรือใกล้เคียงกัน
- หากตัวเลข Traffic Rank in TH ต่ำกว่า 1000 แสดงว่าเป็นเว็บใหญ่ เปรียบเหมือนนักมวยรุ่นเฮฟวี่เวท หากเว็บคู่แข่งเราเป็นแบบนี้อาจจะสู้ยาก ถึงยากมาก แต่เราก็ต้องสู้ อาจจะเหนื่อยหน่อยครับ
- ค่า Sites linking in มี 6,087 แสดงว่า มี 6,087 backlink ถือว่าคู่แข่งเราแข่งโป๊ก ต้องเป็นเว็บที่ดังมากจริง ๆ ถึงมี backlink ธรรมชาติส่งกลับมาเยอะขนาดนี้
- Average Load Time 1.57 วินาที แสดงว่าว่าเว็บนี้เปิดหน้าเว็บอยู่ในเกณฑ์ที่เร็ว เราอยากจะเอาชนะเขา เราต้องทำเว็บให้เปิดเร็วกว่าเขา หรือใกล้เคียงกัน
- หากคุณเช็คเว็บตัวเองแล้ว Traffic Rank in TH แสดงเป็น no data แสดงว่าเว็บคุณมีจำนวน Traffic น้อยเกินไป รวมถึงยังมีจำนวนหน้าเว็บที่มีคุณภาพน้อยเกิน หมายความว่า เว็บยังไม่ได้เรื่องอยู่นั้นเอง
- ดังนั้นคุณอย่าพึ่งคาดหวังว่าเว็บจะติดหน้าแรกในเวลาอันใกล้ๆ นี้ สิ่งแรกที่เราต้องทำคือ ต้องทำให้เว็บเรามีน้ำหนักตัวให้ได้ก่อน ด้วยวิธีการปรับโครงสร้างหน้าเว็บให้มีคุณภาพก่อน และเพิ่มจำนวนหน้าให้มากขึ้น
- โครงสร้างหน้าเว็บที่มีคุณภาพเป็นอย่างไร เดี๋ยวจะมีเขียนไว้ใหนหัวข้อถัดไปครับ
3. เช็คอายุโดเมน
หากคุณเคยศึกษาเรื่อง SEO มาบ้างน่าจะพอรู้ว่า เกณฑ์การจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google นั้นมีหลายร้อยปัจจัย และจากบทความเรื่อง Google’s 200 Ranking Factors อายุของโดเมนถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหลายร้อย factor ที่ทำให้ Google เชื่อถือเว็บของเรา ดังนั้น เมื่อเราทำเว็บและทำ SEO ได้ดีพอๆ กัน เว็บใครอายุมากกว่าก็จะได้เปรียบนั้นเอง
วิธีการเช็คอายุโดเมนเว็บคู่แข่ง
ให้ไปที่เว็บ https://website.informer.com/
แล้วเอาชื่อโดเมนของเว็บที่ต้องการตรวจเช็ควางลงไปได้เลย
แต่เว็บที่อายุมากไม่ใช่ว่าจะดีกว่า เว็บที่อายุโดเมนน้อยเสมอไป Google’s Matt Cutts ได้ชี้แจ้งเพิ่มเติมไว้ว่า
ความหมายก็คือ เราใช้อายุของโดเมนเป็นเกณฑ์จัดอันดับ แต่ยังไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะอายุของโดเมนไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าเว็บจะมีคุณภาพเสมอไป
หากเปรียบอายุโดเมนเหมือนอายุคน คนที่อายุเยอะและมีความสามารถ คือ บุคคลที่มีคุณภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำหรับบางคนนั้นอายุมากอย่างเดียว แต่ไม่ได้มีการพัฒนาตัวเองเลยก็มีนั้นเอง
ที่นี่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนอายุโดเมนมากและมีคุณภาพในสายตา Google การตรวจเช็คเบื้องต้นให้ดูที่การแสดง Sitelink
ลองเอาชื่อเว็บของคุณ แบบไม่ต้องใส่นามสกุลนะ ไปค้นหาบน Google ดูครับ ถ้าผลการค้นหาเว็บของคุณ
แสดงออกมาเป็นลักษณะ Site link (แบบรูปภาพด้านบน) ถือว่า Google เข้าใจโครงสร้างเนื้อหาบนเว็บของเราแล้ว ช่วยเพิ่มโอกาส ในการทำเว็บให้ติดหน้าแรกได้ง่ายขึ้นครับ
แต่ถ้าผลการค้นหาไม่ปรากฏเป็น Site link คือแสดงข้อมูลเว็บเป็นแค่แถวธรรมดา ถือเป็นตัวบ่งชี้ว่า เว็บของคุณยังไม่ค่อยมีคุณภาพดีสักเท่าไหร่ ดังนั้นหากเราเช็คเว็บไหนที่อายุโดเมนมาก แต่ยังไม่มี site link แสดงขึ้นมา แบบนี้ไม่น่ากลัว เราสามารถทำ SEO ชนะเขาได้ไม่ยากนั้นเอง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้: Google Sitelinks คืออะไร และวิธีการทำให้ Sitelinks แสดงบน Google
4. เช็ค Mobile friendly
คำว่า Mobile Friendly ไม่ได้หมายถึงเว็บไซต์ที่ดูได้บนมือถือ แต่หมายถึงเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวกสบายบนมือถือ การที่ผู้ใช้งานเว็บไซต์ยังต้องคอยซูมเข้า ซูมออก เลื่อนซ้าย เลื่อนขวา เพื่ออ่านข้อมูลต่าง ๆ บนหน้าเว็บเหล่านี้ไม่ได้ให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีต่อผู้ชมเว็บไซต์ เพราะไม่เป็น Mobile Friendly
ที่มา: What is mobile friendly
วิธีการเช็ค Mobile friendly
ให้ไปที่ https://search.google.com/test/mobile-friendly
วาง url เว็บไซต์ที่เราต้องการวิเคราะห์ลงไปได้เลย
ถ้าหากเว็บคู่แข่งไม่ผ่านเกณฑ์ Mobile friendly แบบนี้ เราทำ SEO แข่งกับเขาได้ไม่ยาก
เช็คเว็บคู่แข่งไปแล้ว อย่าลืมเช็คหน้าเว็บของคุณเองด้วยนะ
5. ดู Traffic คนเข้าเว็บ
เครื่องมือที่ใช้คือ Ubersuggest
Ubersuggest คือ เว็บที่ไว้ใช้สำหรับวิเคราะห์คำ Keyword ต่างๆ เพื่อให้เรานำมาใช้เป็นแนวคิวในการผลิตคอนเทนต์ และนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมาวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ เครื่องมือนี้สร้างโดย Neil Patel กูรู SEO ระดับโลก
วิธีการใช้งาน
ไปที่หน้าเว็บ Ubersuggest > คลิก https://neilpatel.com/ubersuggest/
จากนั้นให้เราเอาชื่อเว็บคู่แข่งวางลงไปได้เลย (แต่ก่อนจะคลิกค้นหา ให้เลือกประเทศเป็นไทยก่อนนะ)
คุณจะเจอผลลัพธ์ที่น่าสนใจมากมายเลย ที่หัวข้อ Domain Overview ผลลัพธ์ที่แสดงผลมีดังนี้
Organic Keywords: คำ Keyword ทั้งหมดบนเว็บของเรา ที่มีคนค้นหาและพบเจอเว็บของเรา
Organic Monthly Traffic: จำนวนเฉลี่ยของคนที่เข้าเว็บเราใน 1 เดือน ผ่านการค้นหาแบบปกติ ซี่งไม่รวมการค้นหาจากการลงโฆษณานะ
(ปล. ค่าผลลัพธ์นี้อาจยังไม่ถูกต้อง 100% ผมลองไปเอาเปรียบเทียบกับจำนวน traffic ที่แสดงบน Google search console มันจะได้น้อยกว่าเกือบ 4 เท่า หมายความว่า สถิติคนเข้าเว็บที่แสดงบน Ubersuggest ได้เท่าไหร่ ให้คุณคูนด้วย 4 เข้าไปครับ มันถึงจะเป็นสถิติที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง)
อ่านเพิ่มเติม: คู่มือใช้งาน Ubersuggest โปรแกรมหา keyword ฟรี ที่ดีที่สุดในตอนนี้
6. เช็คความเร็วเว็บ
การทำ SEO คือ การทำเว็บให้ดีกว่าเว็บคู่แข่ง เว็บเขาสวยแค่ไหน เราต้องสวยกว่า เว็บเขาคอนเทนต์ดีแค่ไหน เราต้องดีกว่า เช่นเดียวกัน เว็บคู่แข่งเปิดเร็วแค่ไหน เราต้องเปิดเร็วกว่า เครื่องมือเช็คความเร็วมีมากมาย แต่ผมแนะนำให้คุณเช็คความเร็วผ่าน Extension Lighthouse ครับ ซึ่งเป็นส่วนขยายที่สร้างจากทีมงาน Google โดยตรง แต่ต้องใช้งานผ่าน Chrome เท่านั้นนะ
Lighthouse จะทำการตรวจวัดความเร็วหน้าเว็บจากการเปิดบนมือถือเป็นหลัก เพราะปัจจุบัน Google ให้ความสำคัญในการเปิดเว็บที่เรียกว่า Mobile first เพราะการเข้าชมเว็บผ่านมือถือ แซงหน้าการเข้าเว็บผ่าน desktop ไปแล้วนั้นเอง
วิธีการใช้งาน Lighthouse
ต้องติดตั้ง Lighthouse ไว้ที่ Chrome ให้เรียบร้อยก่อน ตามหัวข้อแรกเลยนะ จากนั้นเปิดโหมดไม่ระบุตัวตน (Incognito Mode)
ให้กด Ctrl+Shift+N > Google Chrome จะขึ้นหน้าต่างใหม่มา โดยจะมีรูปนักสืบใส่หมวกใส่แว่นดำปรากฏขึ้นมา
เปิดเว็บไซต์คู่แข่งของเราขึ้นมา ให้คลิกที่ Lighthouse
เราจะได้ผลลัพธ์เป็น score แบบนี้ครับ
จากนั้นให้เราคลิกขยายหน้าจอของหน้า page score
ไม่ต้องเดาเลย สิ่งที่เราต้องทำคือ เว็บคู่แข่งคะแนนดีแค่ไหนเราต้องดีกว่า เว็บเขาเปิดเร็วแค่ไหน เราต้องเปิดเร็วกว่า นอกจากจะแสดงค่าความเร็วในการเปิดเว็บ เรายังได้คำแนะนำเพิ่มเติมด้วยว่า ตรงจุดไหนบนเว็บของเรายังไม่ดีทำให้ได้คะแนนน้อย ซึ่งปัญหาโดยมากคือ ปัญหาจากรูปภาพที่มีขนาดใหญ่เกินไปนั้นเอง
**แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ให้ดูความรู้สึกตอนเปิดเว็บจริงด้วย ในหลายๆ ครั้งคะแนนดี แต่เปิดเว็บจริงแล้วช้า เอาความรู้สึกตอนใช้งานจริง สำคัญกว่าค่าคะแนนนั้นเอง เพราะความรู้สึกตอนใช้งานจริง มันจะกลายเป็นความพึงพอใจของผู้ที่เข้ามาชมเว็บของเราครับ
ดูเทคนิคปรับแต่งรูปสำหรับการทำ SEO ได้ที่นี่ครับ: การทำ SEO รูปภาพให้ติดหน้าแรก Google
อยากทำให้เว็บโหลดเร็วๆ ธีมที่เลือกใช้ต้องดีด้วย ผมแนะนำธีมนี้ครับ: Flatsome Theme
7. ดูการเขียน Title
พื้นฐานของการทำ SEO On-Page สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ Title ซึ่งก็คือ หัวเรื่องของเว็บเพจนั้นๆ Google จะ Index ข้อมูลเว็บของเราหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการเขียน Title นี่แหละ
นอกจากนี้ Title จะถูกแสดงในหน้าผลการค้นหา (SERP) จะมีคนคลิกเข้าเว็บเรามากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับการเขียน Title ด้วยเช่นกัน
การเขียน Title ที่ดีคือ ต้องมีคำที่เป็น Keyword ชัดเจน การวางข้อความต้องดูเป็นธรรมชาติ ไม่ดูเป็น spam และต้องเขียนให้หน้าสนใจ ทำให้คนอยากคลิกเข้าไปดู
เราจะตรวจเช็คว่าเว็บคู่แข่งของเราเขียน Title ไว้ดีหรือยัง เราจะทำการตรวจเช็คผ่าน Extension ที่ชื่อว่า Mozbar ครับ
วิธีใช้งานคือ ให้เราเปิดเว็บคู่แข่งของเราขึ้นมา คลิกที่ Mozbar
เราจะเห็นการเขียน Page Title กับ Meta Description ของเว็บคู่แข่ง ดูว่าเขาเขียนไว้ดีหรือไม่ดี
แนวทางการวิเคราะห์ การเขียน Title
Good Page Title:
- ที่ Title มี keyword ชัดเจน วางอยู่ตำแหน่งต้นประโยค
- ความยาว Title และ Meta Description เหมาะสม > วิธีวัดความยาว title <
- Title และ Meta Description เขียนไม่ซ้ำกัน
- มี keyword อยู่บน Meta Description
- การวางตำแหน่ง keyword ระหว่าง Title กับ Meta Description ถูกต้อง > การวางตำแหน่ง keyword ให้ถูกต้องต้องว่างอย่างไร? >
- มี Keyword เป็น H1 อยู่ 1 ครั้ง (1 หน้าเว็บต้องมี H1 ครั้งเดียวเท่านั้น)
Bad Page Title:
- Title กับ Meta description เขียนซ้ำกัน
- Title กับ Meta description เขียนยาวเกินไป
- เขียน H1 ยาวเกินไป
- Meta Keyword ยุคนี้ไม่ต้องใช้แล้ว ดังนั้นหากเราเห็นเว็บใครใส่ Meta Keyword แสดงว่าใช้วิธีการทำ SEO ยุคเก่า ไม่ได้ติดตามข่าวสารจาก Google นั้นหมายความว่าเรามีสิทธิ์ ทำ SEO ชนะเขาได้ เพราะเขากำลังใช้วิธีทำ SEO แบบเก่าซึ่งมันไม่ได้ผลแล้วในปัจจุบัน
8. เช็คโครงสร้างเนื้อหา (On page SEO)
Google ชอบเว็บที่มีข้อมูลแบบ Long Form Content คือ การเขียนข้อมูลที่ยาว ลงรายละเอียด และทำให้ข้อมูลขนาดยาวนั้น อ่านง่าย และน่าสนใจ
แต่การเขียนบทความ หรืออกแบบหน้า Landing page ให้ยาวอย่างเดียวยังไม่พอ เราต้องวางโครงสร้างข้อมูล ให้ Google เข้าใจประเด็นที่เราเขียนด้วย หากเราปรับโครงสร้างเนื้อหาได้ถูกหลักการ จะทำให้ Search Engine (Google Bot) เข้าใจในสิ่งที่เราเขียนได้ง่ายขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสให้เว็บติดหน้าแรก Google ได้มากกว่าการเขียนบทความ SEO อย่างไม่มีหลักการ
โครงสร้างเนื้อหาเว็บที่ดีเป็นอย่างไร? ผมแนะนำให้คุณอ่านบทความนี้ก่อนครับ : เขียนบทความ SEO ให้ถูกหลัก Google ด้วย On-page checklist
แนวทางการวิเคราะห์ On page SEO
- เปิดเว็บคู่แข่ง แล้วใช้ On-page checklist Tool ตรวจเช็ค
- เว็บที่ดีคือเว็บที่มีโครงสร้างเนื้อหาครบตามที่แสดงไว้บน checklist Tool
- ถ้าโครงสร้างดีแล้ว ดูเรื่องความสวยงาม รูปภาพสวยมั้ย? ตัวอักษรเล็กไป หรือใหญ่ไป หรือดูแล้วอ่านง่ายมั้ย?
- เปรียบกับเว็บตัวเอง คู่แข่งทำเว็บไว้ดีแค่ไหน เราต้องทำให้ดีกว่าครับผม
9. เช็ค backlink
Backlink คือ ลิงค์จากเว็บอื่นๆ ที่ชี้กลับมาที่เว็บไซต์ของเรา เป็นสิ่งที่บอก Google ให้รู้ว่าเนื้อหาของเว็บไซต์เราได้รับการยอมรับ และมีการทำเป็น reference เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับหน้าเว็บของเรา ส่งผลให้เราได้คะแนน SEO จาก Google มากขึ้นไปด้วย
Backlink ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่? ในยุคนี้
- Google ลดความสำคัญของ Backlink เพราะจำนวนของ Backlink ไม่ได้เป็นตัวบอกว่าเนื้อหาบนเว็บมีคุณภาพดีเสมอไป
- Backlink ยังมีความจำเป็น แต่ต้องเป็นลิงค์ที่เราได้รับจากเว็บ ที่มีคุณภาพ และมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ ของเรา และต้องมีความเป็นธรรมชาติ
- หากคุณสร้างบทความที่มีคุณภาพ หน้าเว็บนั้นก็มีโอกาสติดหน้าแรกได้เช่นเดียวกัน เพราะ Google มีหลายร้อยเกณฑ์สำหรับการจัดอันดับเว็บ และเขาจะมองหาเว็บที่มีเนื้อหาที่ดีที่สุดอยู่เสมอ
วิธีการเช็ค Backlink เว็บคู่แข่ง
ไปที่หน้าเว็บ Ubersuggest > คลิก https://neilpatel.com/ubersuggest/
จากนั้นให้เราเอาชื่อเว็บคู่แข่งวางลงไปได้เลย (แต่ก่อนจะคลิกค้นหา ให้เลือกประเทศเป็นไทยก่อนนะ)
คลิก Backlink > คลิก One link per Domain > คลิก Follow
เราก็เห็นเฉพาะ Backlink ประเภท Follow ของเว็บคู่แข่ง เราก็ลองเปิดตามลิงค์ต้นทางดูว่า มาจากเว็บไหน เว็บที่ส่ง Backlink มา เป็นเว็บใหญ่มั้ย? น่าเชื่อถือมั้ย? เนื้อหาบนหน้าเว็บนั้นเขียนดีมั้ย? และเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนเว็บของเราหรือเปล่า?
10. เครื่องมือเช็คธีม เช็คปลั๊กอิน
เว็บที่จะทำ SEO ได้ผลดี ตัวเว็บต้องมีคุณภาพดีเสียก่อน หากคุณใช้ WordPress เป็นเครื่องมือในการสร้างเว็บ เว็บจะดีหรือไม่ดี จะเปิดช้าหรือเปิดเร็ว การเลือกโฮส เลือกธีม และปลั๊กอิน คือ องค์ประกอบสำคัญในการสร้างเว็บให้มีคุณภาพดี
แนะนำให้อ่านก่อน: หลักการเลือกโฮส ธีม และปลั๊กอิน อย่างไรให้ถูกต้อง
หากเราอยากรู้ว่าเว็บคู่แข่งของเราใช้ธีมอะไร ใช้ปลั๊กอินอะไรบ้าง ให้ใช้เครื่องมือนี้ในการเช็คครับ
คลิกขวาบน Chrome > คลิกตรวจสอบ (inspect)
คลิก Sources > คลิก wp-content > คลิก plugins > คลิก themes
เราก็จะเห็นรายชื่อธีมและปลั๊กอินที่เว็บนั้นใช้ หากเว็บต้นทางทำมาดี เราอาจจะนำรายชื่อธีม หรือปลั๊กอินเหล่านั้น มาสร้างเป็นเว็บของเราเองในอนาคตได้นั้นเอง
เรียน SEO ออนไลน์ฟรี 4 บทเรียน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของการทำ SEO
คลิกเข้าเรียนที่นี่สรุป : การวิเคราะห์ SEO เว็บไซต์คู่แข่ง
หากคุณต้องการติดหน้าแรก Keyword ไหน ลองนั่งวิเคราะห์เว็บที่ติดหน้าแรกใน Keyword ที่คุณต้องการ คุณจะรู้ว่า Keyword นี้สู้ยากหรือง่าย ต้องดูภาพรวมการทำ SEO ของแต่ละเว็บที่เขาติดหน้าแรกมาก่อนเว็บของคุณ ตรงไหนที่เขาทำมาดีแล้ว ตรงจุดไหนที่เขายังทำไม่ดี หน้าที่ของคุณคือ ปรับเว็บของตัวเองให้ดีกว่าเขาให้ได้มากที่สุดแค่นั้นครับผม
รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะรอยครั้ง
ประชาสัมพันธ์
สำหรับท่านใดที่อ่านบทความนี้แล้ว สนใจการทำ SEO บน WordPress แบบจริงจัง ในวันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2564 นี้ ผมได้เปิดคอร์สสอน SEO WordPress แบบกลุ่มเล็กๆ 1 รอบ สอนสดรอบละ 10 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์สูงสุด เรียนรู้และทำตามไปพร้อมๆ กันได้
รายละเอียดคอร์สเรียน
SEO WordPress
- ค่าเรียน 6,500 บาท
- เรียนวันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2564
- ระยะเวลาเรียน 6 ชั่วโมง
- เราเปิดสอน 1 รอบ
รอบเช้า 10.00 – 16.00 น. (ว่าง) - เรียนกลุ่มเล็กรอบละ 10 คนเท่านั้น
- สถานที่เรียน Seatz Station
- ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3
- จองที่นั่งเรียนผ่าน Lind ID : padveewebschool ได้เลยครับ
ทุกคอร์สเรียนรอบสอนสด
ได้คอร์สเรียนออนไลน์แถมฟรีครับ
ตัวอย่างผลงาน
SEO Ranking ของเรา
**ประกาศ**
สำหรับการเรียนแบบส่วนตัว 1 ต่อ 1 หรือกลุ่มส่วนตัว แบบสอนนอกสถานที่ ผมไม่รับสอนเว็บพนัน เว็บบอล เว็บหวย เว็บสายเทาทุกชนิดครับ
จะเว็บสายขาว หรือเว็บสายเทา การทำ SEO ใช้หลักการเดียวกันหมดครับ เพราะการทำ SEO ในยุคปัจจุบัน ไม่มีใครสามารถโกง Google ได้นั้นเอง
หากเว็บคุณเป็นสายเทา แต่สนใจเรียน SEO ด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามหลัก Google ก็มาเรียนได้ครับ แต่ให้ลงเรียนรอบสอนกลุ่มปกติ ที่สอนรอบละ 10 คนแทนนะ
แน่นอนวันเรียน คือ เรียนจาก case study จากเว็บหลายๆ แบบ แต่จะไม่มีการยกเว็บพนันมาเป็น case study แต่คุณก็สามารถนำความรู้จากคลาสเรียนนี้ไปปรับใช้กับเว็บตัวเองได้ครับ ไม่มีปัญหา เพราะหลักการทำ SEO นั้นเป็นหลักการสากล นำไปปรับใช้ได้กับเว็บทุกชนิด จะเว็บสายขาย หรือสายเทา หลักการที่ผมสอนนี้ใช้ได้ทั้งหมด
แจ้งไว้ให้ทราบทั่วกัน และขออภัยในความไม่สะดวกครับผม...
แผนที่สถานที่เรียน (รอบสอนกลุ่ม)
สถานที่เรียน Seatz Station
ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี
ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3