การทำเว็บ WordPress ให้มีคุณภาพ มีองค์ประกอบหลายอย่าง การเลือกใช้โฮสติ้งที่ดี เป็นสิ่งสำคัญด่านแรกของการสร้างเว็บให้มีคุณภาพ
โฮสติ้ง SiteGround คือ Hosting ที่ผมแนะนำอีก 1 เจ้าครับ
ทำไมโฮสติ้งถึงมีความสำคัญสำหรับการสร้างเว็บด้วย WordPress อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่ หลักการเลือกโฮสติ้งที่ดีสำหรับ WordPress
สารบัญ
- เกี่ยวกับ SiteGround
- จุดเด่น-จุดด้อย
- การสมัครใช้งาน
- คู่มือการใช้งาน (ครั้งแรก)
- การเพิ่มเว็บไซต์
- การทำ SSL
- การตั้งค่า PHP version
- การสร้าง Subdomain
- การติดตั้ง WordPress
- สรุป
เกี่ยวกับ SiteGround
SiteGround คือ Web Hosting Platform ระดับโลก ที่มีชื่อเสียงมายาวนาน มีแพคเกจโฮสให้เลือกหลายรูปแบบ ทั้งแบบโฮสติ้งทั่วไป หรือ จะเป็น WordPress hosting ที่ปรับแต่งมารองรับเว็บ WordPress โดยเฉพาะ และเป็นโฮสที่ WordPress.org แนะนำให้ใช้อย่างเป็นทางการด้วย
ประเภทของโฮสติ้ง
สำหรับ SiteGround จะมีโฮสให้เลือกใช้อยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ
- Share Hosting
- Cloud Hosting
สำหรับผู้เริ่มต้นผมแนะนำให้คุณเลือกใช้ Share Hosting ก็เพียงพอแล้วครับ
หากคุณยังไม่รู้ว่าอะไรคือความแตกต่างระหว่าง Share Host กับ Cloud Host ลองอ่านบทความนี้เพิ่มเติมดูครับ: ประเภทของโฮสติ้งและหลักการเลือกใช้งานสำหรับเว็บ WordPress
SiteGround ราคาเท่าไหร่
ถ้าคุณสร้างเว็บด้วย WordPress ผมแนะนำให้คุณคลิกเข้าไปเลือกใช้แพคเกจ WordPress Hosting ได้เลย (ปล. WordPress Hosting กับ WooCommerce Hosting จริงๆ แล้วมันเสปคเดียวกัน เขาน่าจะตั้งชื่อให้มันแตกต่างกัน เพื่อใช้ในแง่การตลาดเฉยๆ ดังนั้น เราเลือกตัวไหนก็ได้มันคืออันเดียวกันครับ)
ตัว WordPress Hosting จะมีอยู่ได้กัน 3 แพคเกจ ซึ่งแต่ละแพคเกจะมีความแตกต่างกันที่ จำนวนเว็บไซต์ พื้นที่ข้อมูล และการรองรับคนเข้าชมเว็บของเรา
ถ้าคุณพึ่งเริ่มต้นทำเว็บครั้งแรก ผมแนะนำให้คุณเลือกใช้แพคเกจ GrowBig ก่อนได้เลย แม้ว่าเขาจะจำกัดปริมาณคนเข้าเว็บได้ไม่เกิน 25000 Visits ต่อเดือน เพราะแต่ละเว็บต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะมีคนเข้าเว็บเยอะๆ ได้ ดังนั้นตอนเริ่มต้น ให้เริ่มต้นจากตัวที่ราคาถูกก่อนนั้นเอง
แต่ถ้าคุณมีเว็บเดิมอยู่แล้ว และ Traffic คนเข้าเว็บเกิน 25000 Visits ต่อเดือน ก็ควรเลือกใช้แพคเกจ GoGeek แทนครับ
อ่านเพิ่มเติม: Visits Traffic นับยังไง?
สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อน
ราคาแพคเกจที่คุณเห็น เช่น หากคุณเลือกแพคเกจ GrowBig สมัครใช้งานครั้งแรกคุณจะได้ราคาพิเศษคือ 9.99us /ต่อเดือน (ประมาณ 4,000บาท/ต่อปี) แต่สำหรับปีต่อไปคุณต้องเสียค่าโฮสราคาเต็มคือ 24.99us /ต่อเดือน (ประมาณ 9,600 บาท/ต่อปี)
และการชำระเงิน จะเลือกซื้อเป็นรายเดือนก็ได้ แต่คุณจะไม่ได้ส่วนลดราคาพิเศษ แต่ถ้าเลือกจ่ายเงินแบบรายปี จะได้ราคาพิเศษนั้นเอง
แต่ถ้าเว็บเดิมคุณมี Traffic เกิน 100,000 Visits ต่อเดือน ถ้าคุณจะเลือกใช้ SiteGround คุณต้องเลือกแพคเกจของโฮสประเภท Cloud Hosting แทนครับ ซึ่งจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่เราสามารถจ่ายเงินค่าใช้บริการเป็นรายเดือนได้ครับ
จุดเด่น-จุดด้อย
จุดเด่น
- มีความน่าเสถียรของ Server สูง
- ใช้ Google Cloud เป็น Network
- เลือกสถานที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์ได้ 4 ทวีป
- มี Let’s Encrypt Standard & Wild Card SSL ให้ใช้งานฟรี
- ติดต่อ support ได้ 24 ชั่วโมง
จุดด้อย
- ปีต่ออายุมีราคาสูง
- จำกัดปริมาณ Traffic คนเข้าเว็บ
การสมัครใช้งาน
ไปที่หน้าเว็บ Siteground.com เลือก WordPress Hosting จากนั้นคลิกเลือก Getplan
ถ้ามีโดเมนอยู่แล้วใส่ชื่อโดเมนของคุณลงไปที่ช่อง I already have a domain
ถ้ายังไม่มีโดเมน ผมแนะนำให้คุณไปจดโดเมนที่เจ้านี้ครับ namecheap.com
กรอกข้อมูลเพื่อเป็นสมาชิกและการชำระเงินให้เรียบร้อย
* ตรงเลือกแพคเกจดูให้ดี
ว่าเราจะเลือกใช้ plan ไหน Data Center จะเลือกภูมิภาคไหน ถ้าลูกค้าเราคนไทยเป็นหลัก แนะนำให้เลือก Asia Singapore ครับ
เมื่อเราชำระเงินตัดบัตรเครดิตเรียบร้อย ก็ให้คลิก Proceed to customer area ได้เลย
คู่มือการใช้งาน SiteGround (ครั้งแรก)
พอเราสมัครและชำระเงินเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเจอหน้าตาแบบรูปด้านล่าง ให้เราคลิก set up site ได้เลย
เลือก Start New Website และเลือก ติดตั้ง WordPress
ตรง installation Details สำหรับติดตั้ง WordPress ให้กรอกอีเมล และรหัสผ่านให้เรียบร้อย
เจอหน้าจอแบบนี้ให้กด Finish ได้เลย
การติดตั้ง WordPress บนโดเมนถือว่าเรียบร้อยแล้ว
แต่เรายังไม่สามารถเปิดเว็บได้นะ เราต้องเอาค่า Nameserver ของ SiteGround ไปใส่ที่โดเมนของเราให้เรียบร้อยก่อน แล้วรอ Nameserver เขาอัพเดทประมาณ 24 ชั่วโมงนะ
สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักว่า Nameserver คืออะไร และเปลี่ยนค่ายังไง อ่านบทความนี้ก่อนครับ: การตั้งค่า Nameserver
วิธีเช็คว่า Nameserver มันเปลี่ยนรึยัง
ให้เราลองเอาชื่อโดเมนพิมพ์ลงไปบน Browser ถ้าขึ้นเป็นหน้าตาแบบนี้ แสดงว่า โดเมนของเราเปลี่ยน Nameserver เรียบร้อยแล้ว
การเพิ่มเว็บไซต์
หากคุณเลือกแพคเกจ GlowBig ขึ้นไป 1 แพคเกจที่ซื้อ เราสามารถใส่หลายโดเมนได้ วิธีการเพิ่มโดเมนหรือเพิ่มเว็บไซต์ มีดังต่อไปนี้
Login เข้าสู่ระบบของ SiteGround ให้เรียบร้อย ดูที่เมนูคำว่า Website > จากนั้นให้คลิก New Website
ถ้าคุณมีโดเมนอยู่แล้ว ให้เลือกเป็น Existing Domain แล้วกรอชื่อโดเมน จากนั้นกด Continue
ถ้าเจอแจ้งเตือนแบบนี้ไม่ต้องตกใจ เขาแค่แจ้งเราว่าโดเมนของเราจะใช้งานได้ อย่าลืมไปตั้งค่า Nameserver ชี้มาที่ SiteGround ด้วย ให้เรากด Continue ต่อได้เลย
จากนั้นทำตามขั้นตอนด้านบนอีกรอบได้เลย กลับสู่ขั้นตอนติดตั้ง WordPress และตั้งค่า Nameserver
การทำ SSL
หลังเราติดตั้ง WordPress เรียบร้อยแล้ว หากมีแจ้ง Error แบบนี้ แสดงว่าเว็บของเรายังไม่ได้ทำ SSL
เราต้องตั้งค่าเพื่อทำ SSL ให้เรียบร้อยก่อน มีวิธีการดังนี้
เลือกโดเมนที่เราต้องการทำ SSL > คลิกเข้าไปที่ Site Tools
จากนั้นให้เข้าไปที่เมนู Security > SSL Maneger > เลือกชื่อโดเมน > เลือกประเภทของ SSL แนะให้เลือกเป็น Let’s Encrypt Wildcard > คลิก Get ให้เรียบร้อย จากนั้นรอระบบอัพเดทสักครู่นึง แล้วค่อยกับไป refresh เว็บตัวเองใหม่อีกรอบ
Let’s Encrypt Wildcard เป็นรูปแบบการทำ ฟรี SSL แบบใหม่ ซึ่งเราสามารถตั้งค่ารอบเดียว แต่สามารถทำ SSL คลอบคลุมตัว SubDomain ได้ด้วย
ตั้งค่า HTTPS Enforce
คือการบังคับว่า หากเรามีหน้า URL เดิมที่เป็น HTTP แบบทั่วไป ให้ทำการเปลี่ยน URL วิ่งมาแบบ HTTPS โดยอัตโนมัติ จุดนี้แนะนำให้ทำด้วยทุกครั้ง ให้ตั้งค่าตามรูปได้เลยครับ
การตั้งค่า PHP version
หากเราอยากจะใช้ WordPress หรือโปรแกรมอะไรก็ตามให้ได้ประสิทธิภาพเต็มที เราต้องรู้เสปคของ Sever ที่เขาต้องการก่อนนั้นเอง
Spec โฮสติ้ง ที่ WordPress แนะนำมีดังนี้
- PHP version 7.4 or greater.
- MySQL version 5.6 or greater OR MariaDB version 10.1 or greater.
- HTTPS support
อ้างอิงจาก: WordPress.org
PHP version ที่ WordPress ต้องการคือเวอร์ชั่น 7.4 ขึ้นไปนั้นเอง หากเราต้องการปรับแต่งจุดนี้ ให้เราเข้าไปที่ site tools > Devs > PHP Manager
คลิกตรงรูปดินสอ เพื่อเข้าไปเปลี่ยน PHP version เป็น PHP 7.4 ได้เลย จากนั้นคลิก confirm ให้เรียบร้อยครับ
การสร้าง Subdomain
หากคุณต้องการจะสร้าง Subdomain เอาไว้เป็นเว็บฝึกซ้อม ก็สามารถทำได้ดังนี้ ให้เข้าไปที่ Site Tools เลือก
เมื่อสร้าง Subdomain เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมติ๊กเปิดใช้งานจุดนี้ด้วย
เพื่อใครยังไม่รู้ว่า Subdomain เอาไว้ทำอะไรบ้าง อ่านบทความนี้ดูครับ Subdomain คืออะไร เอาไว้ทำเว็บฝึกซ้อมได้อย่างไร
การติดตั้ง WordPress
แน่นอนหากเรามีการสร้างเว็บเพิ่ม หรือสร้าง Subdomain เพิ่ม อยากจะให้เว็บเหล่านั้นเริ่มต้นทำงานได้ เราต้องติดตั้ง WordPress เข้าไปก่อนเป็นอันดับแรก
วิธีการติดตั้ง WordPress ลงบน SiteGround มีวิธีการดังนี้ ให้ไปที่ Site Tools > ดูเมนู WordPress > เลือก Install & Manage > คลิกเลือก Select
จากนั้นมาตั้งค่า Application Setup สักเล็กน้อย ดังนี้
- เลือก Domain ที่ต้องการติดตั้ง WordPress
- ตั้งค่า Username/Password และอีเมล
- คลิก Install ให้เรียบร้อย
เป็นอันเสร็จสินกระบวนการติดตั้ง WordPress แล้วครับ
สรุป
SiteGround เป็นโฮสติ้งระดับโลก และเป็นโฮสที่ WordPress.org แนะนำให้ใช้อย่างเป็นทางการ จากการทดลองเลือกใช้โฮสมาหลายเจ้า ในความรู้สึกของผมโฮส SiteGround มีความเสถียรมากที่สุด และใช้งานง่ายมาก
ความเสถียรในที่นี้ ไม่ได้วัดจากว่าโฮสเร็วหรือช้า อย่างเดียว แต่หมายถึงการทำงานบน WordPress ทั้งหมด การทำงานรวมกับธีม และปลั๊กอินต่างๆ แต่ละโฮสจะมีการตั้งค่า Server ไม่เหมือนกัน บางโฮสจะจำกัดทรัพยากรของ Server ทำให้เราไม่สามารถใช้ปลั๊กอินบางตัว ที่มีการเรียกใช้ทรัพยากรหนักๆ ได้
หากคุณไม่ติดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียปีละประมาณ 10000 บาท ผมแนะนำให้คุณเลือกใช้โฮส SiteGround ครับ เว็บหลักของผม Padveewebschool ก็ใช้โฮสเจ้านี้ด้วยเช่นเดียวกันครับ
อ่านเพิ่มเติม: พาดูเบื้องหลังเว็บ PadveeWebschool ใช้เครื่องมือสร้างเว็บอะไรบ้าง
ประชาสัมพันธ์
สำหรับท่านใดที่อ่านบทความนี้แล้ว สนใจการสร้างเว็บร้านค้าออนไลน์ด้วย WordPress + Woocommerce แบบมืออาชีพ ในวันที่ 21 - 22 สิงหาคม 2564 นี้ ผมได้เปิดคอร์สสอน Woocommerce Expert แบบกลุ่มเล็กๆ 1 รอบ สอนสดรอบละ 6 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์สูงสุด เรียนรู้และทำตามไปพร้อมๆ กันได้
รายละเอียดคอร์สเรียน
สร้างเว็บร้านค้าออนไลน์ Woocommerce expert
- ค่าเรียน 9,500 บาท 21 - 22 สิงหาคม 2564
- เวลาเรียน 10.00- 16.00 น.
- เรียนกลุ่มเล็กรอบละ 6 คนเท่านั้น (ว่าง)
- เราสอนด้วยธีม Flatsome Theme
(No.1 Best selling Woocommerce Theme 2020) - สถานที่เรียน Seatz Station
- ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3
- จองที่นั่งเรียนผ่าน Lind ID : padveewebschool ได้เลยครับ
ทุกคอร์สเรียนรอบสอนสด
ได้คอร์สเรียนออนไลน์แถมฟรีครับ
คอร์สเรียนนี้เหมาะกับใคร ?
- เนื่องจากคอร์สเรียนนี้เราสอนเป็นกลุ่ม จึงไม่เหมาะกับทุกคน
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เคยใช้งาน WordPress มาบ้าง รู้พื้นฐานแบบงูๆปลาๆ หากคุณเคยลง WordPress เอง ลงปลั๊กอินได้ เคยสร้าง page หรือ post แบบนี้เรียนได้
- หรือหากคุณไม่เคยใช้งาน WordPress มาก่อนเลย แต่คุณมีทักษะไอที เช่น เคยใช้พวกโปรแกรมกราฟฟิค Photoshop, illustrator เคยใช้พวกโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ อะไรก็ได้มาบ้าง
- ถ้าคุณเคยใช้โปรแกรมดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าคุณมีทักษะไอที สามารถลงเรียนคอร์สนี้ได้
- เนื่องจากเราเรียนกันหลายคน หากผู้เรียนไม่มีทักษะไอทีเลยจะทำให้เรียนรู้ตามเพื่อนไม่ทันนั้นเอง
คอร์สเรียนนี้ไม่เหมาะกับใครบ้าง ?
- ผู้ที่ไม่มีทักษะด้านไอทีต่างๆ
- ผู้สูงวัยที่ใช้คอมพิวเตอร์ยังไม่คล่อง หรือหากรู้สึกว่าตัวเองเรียนรู้ได้ช้า คุณไม่เหมาะกับคอร์สเรียนนี้
- สำหรับคนที่ไม่มีทักษะด้านไอที หรือคิดว่าตนเองเรียนรู้ได้ช้า และชอบความเป็นส่วนตัว แต่ต้องการที่จะสร้างเว็บด้วยตนเอง
- ผมแนะนำให้ลงเรียนรอบสอนแบบตัวต่อตัวจะดีที่สุดครับ
แผนที่สถานที่เรียน (รอบสอนกลุ่ม)
สถานที่เรียน Seatz Station
ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี
ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3