อยากเขียนบทความ แล้วมีคนค้นหาเจอเยอะๆ นอกจากจะเขียนให้ดี เขียนให้ถูกหลักไวยกรณ์ภาษา คุณต้องเขียนบทความให้ถูกหลักไวยกรณ์ Google ด้วย หรือเรียกอีกอย่างว่าการเขียนบทความ SEO นั้นเอง
หลักไวยกรณ์ Google คืออะไร? บทความชุดนี้มีคำตอบครับ
เพราะไม่ว่าคุณจะเขียนบทความได้ดีแค่ไหน หากไม่มีใครพบเห็นบทความที่คุณเขียน บทความนั้นก็แทบจะไร้ความหมาย
การจะเขียนบทความให้ถูกหลัก SEO ได้ คุณจำเป็นต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนว่า SEO คืออะไร ผมแนะนำให้คุณอ่านบทความนี้สักเล็กน้อย : การ SEO 2021 Roadmap Guide ก่อนที่จะเริ่มเขียนสิ่งต่าง ๆ ลงบนโลกออนไลน์
สารบัญเนื้อหา
- ทำไมต้องเขียนบทความให้ถูกหลัก SEO
- On-page structure checklist คืออะไร
- วิธีการใช้งาน structure checklist
เรียน SEO ออนไลน์ฟรี 4 บทเรียน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของการทำ SEO
คลิกเข้าเรียนที่นี่ทำไมต้องเขียนบทความให้ถูกหลัก SEO
เหตุผลหลักๆ เลย เราต้องเขียนบทความให้ถูกหลัก SEO เพื่อให้เว็บเรามีโอกาสติดหน้าแรก Google ให้ได้ เป็นที่รู้กันดีหากเว็บไซต์ของคุณไม่ติดอันดับ 1- 10 มีโอกาสน้อยมากที่จะมีคนคลิกเข้ามาเว็บไซต์ หรือคลิกเข้ามาอ่านบทความของคุณ
ผมขอบรวบรวมตัวอย่าง volume การค้นหาของ Keyword ต่าง ๆ มาเปรียบเทียบให้พวกเราเห็นระหว่างเว็บอันดับ 1 กับอันดับ 10 ว่ามันจะแตกต่างกันขนาดไหน โปรแกรมที่ใช้ดูสถิติพวกนี้คือ kwfinder ครับผม (สำหรับเนื้อหาการใช้เครื่องมือตัวนี้ ผมจะพูดถึงในบทความต่อ ๆ ไปครับ)
“เพิ่ม Traffic = เพิ่มยอดขาย
ทำให้เว็บเราติดอันดับหน้าแรก หลายๆ keyword กับทำ Keyword ที่ติดอยู่แล้ว มีอันดับสูงขึ้น”
แนะนำให้อ่าน: คู่มือใช้งานโปรแกรมค้นหา Keyword ฟรี ที่ดีที่สุดในตอนนี้
นอกจากนี้บทความ SEO ที่ดี ไม่ใช่แค่บทความที่เราเขียนแล้วติดหน้าแรกเพียงอย่างเดียว ต้องเป็นบทความที่ถูก Index หลายๆ keyword ในบทความเดียวกันด้วย คือ การติด organic keyword หลายๆ คำ ซึ่งเป็นชุดคำที่เกี่ยวข้องกับ focus keyword ที่เราอยากให้ติดหน้าแรกมาที่สุดนั้นเอง
จำนวน organic keywords ของเว็บ honestdocs.co
On-page structure checklist คืออะไร
On-page structure checklist คือ เครื่องมือตรวจสอบโครงสร้างเนื้อหาบนเว็บของคุณ ให้มีรูปแบบที่ถูกต้อง เพื่อให้ Search Engine (Google Bot) เข้าใจในสิ่งที่เราเขียนได้ง่ายขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสให้เว็บติดหน้าแรก Google ได้มากกว่าการเขียนบทความ SEO อย่างไม่มีหลักการ
สำหรับเครื่องมือ On-page structure checklist ตัวนี้ เป็นเครื่องมือสำหรับไว้ตรวจสอบบทความ SEO ที่ผมวิเคราะห์และสร้างขึ้นมาเองจากประสบการณ์ และจากบทความต่าง ๆ จึงไม่ใช่แหล่งอ้างอิงที่มาจาก Google โดยตรงนะ
วิธีการใช้งาน structure checklist สำหรับ เขียนบทความ SEO
ทุกครั้งๆ ที่คุณเขียนบทความ ให้คุณใช้ Checklist ตัวนี้ ในการตรวจสอบโครงสร้างเนื้อหา ซึ่งเราสามารถใช้วิธีการนี้ แทนการตรวจสอบโครงสร้างจากปลั๊กอิน Yoast เพราะปลั๊กอิน Yoast มีข้อจำกัดในการตรวจสอบบทความที่เป็นภาษาไทยนั้นเอง
สำหรับคนที่ยังไม่รู้จักว่าปลั๊กอิน Yoast คืออะไร ลองอ่านบทความนี้ประกอบนะ: การใช้ Yoast SEO เขียนบทความอย่างไร ให้ไฟเขียวติด
Checklist 1: เตรียม Focus Keyword และ Relate Keyword ของคุณไว้ให้พร้อม
Focus Keyword คือ คำหลักที่เราอยากให้มันติดหน้าแรก Google จากการค้นหาของคนทั่วไป
Relate Keyword คือ คือชุดคำที่มีความหมาย ใกล้เคียงกับ Focus keyword หรือเกี่ยวข้องกับ Focus Keyword ของเรา
สมมุติว่าผมจะเขียนบทความเกี่ยวกับการเลือกรองเท้าวิ่ง
Focus keyword ของบทความนี้ก็คือ “การเลือกรองเท้าวิ่ง”
วิธีการหา Related Keyword
การหา Related Keyword จะมี 2 วิธี
1.ดูจากผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ (Searches related to) ที่แสดงอยู่ใต้ล่างผลการค้นหาบน Google SERP
2.หาคำที่เกี่ยวข้องผ่านโปรแกรม Ubersuggest
ให้เรานำชื่อเว็บที่ติดอันดับต้นๆ ของหน้าแรก Google ไปวางที่ Ubersuggest จากนั้นดูที่หัวข้อ Top page ให้ค่อยๆ ไล่หา URL ที่ตรงกับหน้าเว็บที่ติดอันดับบน Google
รวบรวมคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง เตรียมเอาไว้ก่อน เราก็จะได้คำที่เกี่ยวข้องกับ Focus Keyword ดังนี้
Focus Keyword: การเลือกรองเท้าวิ่ง
Relate Keywords:
การเลือกรองเท้าวิ่ง nike
การเลือกขนาดรองเท้าวิ่ง
วิธีเลือกรองเท้าวิ่ง ผู้หญิง
เลือกรองเท้าวิ่ง asics
รองเท้าวิ่ง cushioning
รองเท้าวิ่ง หลวมเกินไป
การเลือกรองเท้ากีฬา
รองเท้าวิ่งรูปเท้า
รองเท้าวิ่ง ผู้หญิง ยี่ห้อไหนดี
การ เลือก ซื้อ รองเท้า วิ่ง
การเลือกไซส์รองเท้าวิ่ง
รองเท้าวิ่งผู้ชาย ยี่ห้อไหนดี
รองเท้าวิ่งหน้ากว้าง ผู้หญิง
หน้าเท้ากว้าง รองเท้าวิ่ง
การเลือกรองเท้าวิ่งมาราธอน
**หากคุณเขียนบทความ SEO ออกมาดี มีคุณภาพ ใน 1 บทความ คุณจะมีโอกาสติดหน้าแรกหลาย Keyword ได้นั้นเอง คือ ไม่ว่าคนจะค้นหาคำที่เกี่ยวข้องอะไรก็ตาม ก็จะเจอบทความที่คุณเขียนไว้ทั้งหมด ซึ่งมันคือประสิทธิภาพของการทำ SEO ที่เรียกว่าทำบทความไม่ต้องเยอะ แต่สามารถมี organic keyword จำนวนมาได้นั้นเอง
เราจะนำ relate keyword ไปใช้งานอย่างไร เดี๋ยวจะมีอธิบายในหัวข้อถัดไปครับ
Checklist 2. เขียน SEO title กับ Meta Description
หลักการเขียนมีดังนี้ ที่ SEO Title ให้วาง Focus Keyword ไว้ต้นประโยคให้ได้ วางเป็นคำแรกได้ยิ่งดี แต่หากวางคำแรกแล้วดูไม่น่าอ่าน เขยิบมาวางที่เป็นที่ 2 ได้
แต่ในการเขียนบทความเพื่อทำ SEO จริงๆ เราไม่ต้องเปลี่ยนสีนะ เขียนให้เป็นธรรมชาติตามที่เราต้องการได้เลย จะทำเน้นสี หรือไม่เน้นสี ถือว่าไม่มีความแตกต่างกันในสายตา Google ครับ
เขียน SEO title ให้น่าสนใจ กระตุ้นให้คนอยากคลิกเข้าไปอ่านบทความของเรา นอกจากนี้ถ้า Relate Keywords มีคำที่น่าสนใจ ให้นำ Relate Keywords มาผสมลงไปในการเขียน SEO Title ด้วยนั้นเอง
ตัวอย่างการเขียน SEO Title
**หมายเหตุ ในบทความนี้
Focus Keyword: ผมจะเขียนเป็น สีแดง
Related Keyword: ผมจะเขียนเป็น สีเขียว
ในส่วนของ Meta Description ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นคำนำของบทความ ก็ต้องเขียนให้น่าสนใจเช่นเดียวกัน และต้องมี Focus Keyword และ Related Keywords ปรากฏอยู่ในนั้นด้วย แต่ไม่ควรนำ Focus Keyword วางไว้ต้นประโยค ให้วางเขยิบออกไปหน่อย เพื่อให้บทความ SEO ดูเป็นธรรมชาติ และป้องกัน Google มองว่าเรากำลังทำ Spam keyword นั้นเอง
ตัวอย่างการเขียน Meta Description
“4 วิธีง่ายๆ ในการเลือกรองเท้าวิ่ง สำหรับนักวิ่งทั่วไป หรือวิ่งมาราธอน เราก็มีหลักเกณฑ์ในการเลือกไซส์รองเท้าวิ่งทั้งผู้หญิง และผู้ชายเลย”
ในส่วนของ SEO title กับ Meta Description เมื่อคุณแต่งข้อความเสร็จแล้ว ให้นำไปวางที่ฟังชั่นของ Yoast SEO ด้านล่างของบทความ ซึ่งตรงจุดนี้ ตัว Yoast จะช่วยเช็คความยาวของประโยคด้วย หากขึ้นเป็นแถบสีเขียวๆ เกือบเต็มนะ แสดงว่าคุณเขียนข้อความยาวกำลังดีในการทำ SEO นั้นเอง
Yoast SEO option
ข้อห้ามสำหรับการเขียน SEO title กับ Meta Description
- ห้ามวาง focus keyword เป็นคำต้นประโยคตรงกัน
- ห้ามเขียน title กับ Meta เป็นข้อความชุดเดียวกัน
- ห้ามเขียนยาวหรือสั้นเกินไป
- อย่าใส่ focus keyword ซ้ำกันเกิน 2 ครั้ง ทั้งใน title และ Meta
- อย่าเขียนเป็น spam keyword พยายามเขียนให้มันน่าสนใจด้วย
Checklist 3. URL friendly
เขียน URL ให้สอดคล้องกับ Focus Keyword แต่ให้สั้น กระชับ เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่หากคุณสร้างเว็บด้วย WordPress ผมแนะนำให้คุณเขียน URL เป็นภาษาอังกฤษจะดีที่สุดครับ
หากคุณเขียน URL เป็นภาษาอังกฤษ เราไม่จำเป็นต้องใส่พวกคำคุณศัพท์ เช่น The, a, to เป็นต้น คือเขียนให้สั้นๆ จะดีกว่าเขียนยาวๆ นั้นเอง
ตัวอย่างการเขียน URL friendly
Checklist 4. ใส่รูปภาพหน้าปก (Featured image) และ Alternative Text (ALT)
ทุกบทความที่คุณเขียนต้องมีภาพหน้าปก นอกจากความสวยงาม น่าสนใจ ดึงดูดให้คนอยากคลิกเข้าไปอ่านแล้ว การมีภาพหน้าปก จะช่วยเพิ่มโอกาสให้รูปภาพเราไปปรากฏบนการค้นหารูปภาพ (image search) อีกด้วย
ใครอยากให้มีรูปภาพบนเว็บปรากฏบนการค้นหาหมวดรูปภาพเยอะๆ ผมแนะนำให้คุณอ่าน: การทำ SEO รูปภาพ ให้เป็นมิตรกับการค้นหาของ Google
การใส่รูปภาพหน้าปกบน WordPress เราจะใส่ในส่วนของ Featured image
การใส่ ALT text
Alt text คือ คำที่ google ใช้ดูว่ารูปภาพของเราคือรูปอะไร นอกจากนี้ นอกจากนี้ หน้าที่หลักของเขาคือจะแสดงข้อความ กรณีที่รูปภาพโหลดไม่ขึ้น เพื่อบอกว่ารูปนี้คืออะไรหน้าเว็บ ซึ่งจุดนี้สำคัญมาก เราจำเป็นต้องใส่ Alt text ในทุกรูปภาพที่มีความสำคัญ
Checklist 5. Title Tag (H1) ชื่อหัวข้อบทความ
ในการเขียนบทความ เราสามารถเขียนหัวข้อ (heading) ได้ 6 ระดับ
Google แยกความสำคัญของ Keyword ผ่าน Heading Tag ของตัวอักษร ประเด็นสำคัญที่สุด (focus keyword) ของบทความ เราต้องเขียนตัวอักษรโดยเลือก เขียนเป็น Heading 1 (H1)
ใน 1 บทความเราจะวาง H1 ได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งการแสดง H1 บนหน้า post กับ page บน WordPress จะมีความแตกต่างกันนิดหน่อย
อ่านก่อน: ความแตกต่างระหว่าง Page กับ Post บน WordPress
สำหรับใครที่กำลังเขียนบทความจาก post ชื่อเรื่องของ post จะเป็น H1 โดยอัตโนมัติ ซึ่ง H1 เราจะเขียนได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น เปรียบเหมือนเราเขียนเรียงความ ชื่อเรื่องที่ตัวใหญ่ๆ ต้องมีแค่ครั้งเดียว
ดังนั้น บทความหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเขียนลงบน post จะไม่มีการใช้ H1 ซ้ำอีกครั้งนั้นเอง เพราะถูกใช้งานผ่านชื่อเรื่องบทความไปแล้ว 1 หน้าต้องมี H1 ชุดเดียวเท่านั้นครับ และในชื่อเรื่องคุณต้องใส่ Focus Keyword ลงไปด้วยนั้นเอง
แต่สำหรับหน้าที่เป็น page ชื่อเรื่องของหน้า จะไม่แสดงเป็น H1 บนหน้าเว็บ เช่นพวกหน้า Home, About, Contact หรือหน้า Landing page อื่น ๆ ดังนั้นสำหรับหน้าเว็บที่เป็น page คุณต้องเขียน H1 ที่เป็น Focus Keyword ลงไปด้วย 1 ครั้ง และควรวางไว้ตำแหน่งบนๆ ของหน้า page อีกด้วย
ตัวอย่างการวาง Heading tag ประเภทต่างๆ บนหน้าเว็บที่เป็น Page
Checklist 6. การเขียนย่อหน้าแรก (First Paragraph)
Google Bot นั้นอ่านข้อมูลจากด้านบนลงข้างล่าง จะทำให้ Google เข้าใจสิ่งที่เราเขียน ต้องเขียนบทความให้มีประเด็นที่ชัดเจน ซึ่งย่อหน้าแรกก็เป็นจุดที่สำคัญมากเช่นกัน Google Bot จะเข้าใจสิ่งที่เราเขียนหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับย่อหน้าแรกด้วย
การเขียนย่อหน้าแรกให้เราเขียนด้วย Paragraph Text (ตัวอักษรธรรมดา) เท่านั้น ห้ามเขียนย่อหน้าด้วย heading เด็ดขาด ให้เขียนยาวประมาณ 2-3 บรรทัดขึ้นไป และให้มีคำที่เป็น Focus Keyword ปรากฏอย่างด้วย 1 ครั้ง
ตัวอย่างการเขียนย่อหน้าแรก
SEO Tips: แต่ละย่อหน้าความยาวเต็มที่อย่าให้เกิน 5 บรรทัด แล้วกด enter ขึ้นย่อหน้าใหม่บ่อยๆ ได้เลย ตรงจุดนี้จะช่วยให้คนอ่านบทความของเราง่ายขึ้น และดูไม่อึดอัดด้วย เพราะบทความทีดีต้องเขียนดี และอ่านง่าย นั้นเอง
Checklist 7. ใส่ ALT text บนรูปภาพประกอบบทความทุกรูป
การเขียนบทความ SEO เนื้อหาบทความต้องมีความหลากหลายและน่าสนใจ คุณจะเขียนแต่ตัวอักษรอย่างเดียวทั้งหน้าไม่ได้ ต้องมีรูปภาพประกอบบทความด้วยเสมอจะ จะใส่รูปภาพกี่ใบก็ได้ แต่ต้องมีรูปภาพ 1 ใบ ที่ใส่ ALT text เป็น Focus Keyword
และหากในบทความของคุณจำเป็นต้องใส่รูปภาพหลายรูป ห้ามใส่ Alt text เป็นคำ Focus Keyword ทั้งหมด เพราะอาจจะถูก Google มองว่าเราจงใจทำ Spam Keyword ดังนั้น รูปภาพอื่น ๆ อย่างให้เสียของ ให้เราใส่ ALT text เป็น Related Keyword แทน
SEO Tips: อย่าใส่ Focus Keyword ลงบนรูปภาพทุกรูป ให้กระจาย Keyword โดยการใส่เป็น Related Keyword แทน และทุกรูปภาพใส่ Keyword ได้เพียงคำเดียวเท่านั้น
Checklist 8. เขียนบทความ SEO ให้มีประสิทธิภาพ ทุกหน้าต้องมีสารบัญ
สารบัญบทความ คืออะไร?
สารบัญ คือ เป็นเด็นที่เป็นหัวข้อย่อยๆ ของบทความ ที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงหัวข้อเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น เมื่อมีการคลิกที่หัวข้อในสารบัญ จะแสดงข้อมูลของหัวข้อนั้นในทันที อีกทั้งยังช่วยให้ Google เข้าใจภาพรวมเนื้อหาของเราได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
ทำไมต้องใส่สารบัญ?
การเขียนบทความ SEO คือการเขียนบทความเป็น long form content ที่มีความยาว 1,000 คำขึ้นไป ยิ่งคุณเขียนบทความยาวเท่าไหร่ ก็จะอ่านจับประเด็นได้ยาก หากคุณว่างโครงสร้างเนื้อหาไม่ดี ดังนั้น การใส่สารบัญ จะช่วยให้คนอ่านเข้าถึงประเด็นสำคัญได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเขาคลิกสารบัญปุ๊บ ก็จะเจอประเด็นที่เขาอย่างรู้ในทันที
Brian Dean กูรู SEO ระดับโลก ได้เขียนเอาไว้ว่า การวางลิงค์ที่สารบัญ จะช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาของเราได้ดีขึ้น และสารบัญเป็น 1 ในปัจจัยของการทำ SEO อีกด้วย
อ่านบทความในตำนานของเขาได้ที่: Google’s 200 Ranking Factors
นอกจากนี้หากเว็บคุณมีสารบัญ และมีคนเข้ามาอ่าน และคลิกที่สารบัญเนื้อหาของคุณมากพอ ที่หน้าบทความนั้นจะเกิดเป็น sitelinks ซึ่งจะแสดงบนผลการค้นหา (Google SERP) อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม: Google Sitelinks คืออะไร และวิธีการทำให้ Sitelinks แสดงบน Google
วิธีการสร้างสารบัญ
เราสามารถสร้างสารบัญได้ 2 วิธี คือ
1) ใช้ปลั๊กอิน Easy Table of Contents เป็นเครื่องมือในการสร้างสารบัญ
ตัวอย่างหน้าบทความที่ใช้ปลั๊กอินนี้สร้าง > คลิกเข้าไปดูได้เลย <
2) ใช้ฟังชั่น Scroll to ที่อยู่ใน page builder ที่แต่ละธีมเตรียมมาให้เรา แต่ไม่ใช่ทุกธีมจะมีฟังชั่นนี้ครับ
สำหรับการเขียนบทความ SEO บนเว็บของผม ผมจะใช้ฟังชั่น Scroll to ที่มากับธีม (Flatsome Theme)เป็นตัวสร้างสารบัญนั้นเอง
คู่มือสร้างสารบัญ: ทำสารบัญ บน WordPress ทั้งแบบใช้ปลั๊กอินและไม่ใช้ปลั๊กอิน
Checklist 9. ต้องมี Focus Keyword เป็น H2 อย่างน้อย 1 ครั้ง
ในการเขียนบทความ SEO ให้โครงสร้างเนื้อหาถูกหลักการ นอกจากจะมี focus keyword วางเป็นหัวข้อใหญ่ (H1) ที่หน้าบทความของเราต้องมีการวาง focus keyword เป็นหัวข้อรอง H2 ด้วย
การวางหัวข้อ Heading อย่างเหมาะสม จำทำให้ Google เข้าใจประเด็นหลักที่เราเขียนได้ง่ายขึ้นนั้นเอง ใน 1 หน้าเว็บเราสามารถวาง H2 หลายครั้งได้ แต่ H2 ที่เป็น Focus keyword ควรวางไว้ด้านบน ต่อจากตำแหน่งของสารบัญจะดีที่สุดครับ
Checklist 10. ทุกบทความต้องมี Heading ตั้ง H1-H3 เป็นอย่างน้อย
อย่าลืมใส่หัวข้อรอง ตั้งแต่ H3-H6 ลงไปที่บทความ SEO ของเราด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องใส่ให้ครบถึง H6 แต่ควรมีหัวข้อ H1-H3 เป็นอย่างน้อย
Checklist 11. Keyword density (จำนวนการซ้ำของ Keyword) ประมาณ 1.5 – 2% ของจำนวน Text
ใน 1 บทความต้องใส่ keyword กี่ครั้ง ?
คำตอบนี้อาจจะตอบแบบฟันธงไม่ได้ เพราะแต่ละบทความมีขนาดความสั้นยาวของ Text ไม่เท่ากัน แต่เราควร Focus Keyword ซ้ำลงไปบ้าง 1.5 – 2% ของจำนวน Text และให้วางแบบกระจายตัวอย่างหลวมๆ ทั่วทั้งบทความ ใส่ให้เป็นธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องเว้นวรรค หน้าหลังก่อน keyword และอย่าใส่เกิน 2 ครั้งแต่ละย่อหน้า
นอกจากนี้เราควรแทรก related keywords เข้าไปด้วยแต่ไม่ต้องเขียนให้เป็นกลุ่มคำ แต่ให้เขียนแค่ให้พอมีปรากฏกระโดดคำได้ ยิ่งเราใส่ related keywords ได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องอ่านแล้วรู้เรื่องด้วยนะ การมี related keywords จะช่วยเพิ่ม organic keyword ที่ถูก index มากขึ้น ทำให้คนคนหาเจอบนความจาก keyword ที่หลากหลายนั้นเอง
ตัวอย่างการวาง keyword density ในบทความ
Checklist 12. ต้องมี Internal link กับ External link เสมอ
เปรียบเหมือนเราเขียนรายงาน บางจุดเป็นข้อมูลที่เราไม่ได้คิดเอง หรือเป็นความรู้ที่ต้องมีการอ้างอิง ซึ่งตรงจุดนี้เราต้องวางลิงค์เชื่อมโยงไปหาหน้าเว็บที่เป็นข้อมูลหลัก การลิงค์ออกไปเว็บที่เป็นโดเมนอื่น เราเรียกว่า External ลิงค์ ส่วนลิงค์ที่เชื่อมโยงเว็บของตัวเอง เราเรียกว่า Internal link
แต่การวางลิงค์เชื่อมโยงแล้วให้มันได้ผล เราต้องเขียนให้มันน่าคลิกด้วยครับ ซึ่งการวางลิงค์ให้น่าคลิกมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ในคำศัพท์ทาง SEO เราจะเรียกว่าการวาง Anchor Text
ดูตัวอย่างการทำ Anchor Text ให้มีประสิทธิภาพที่บทความนี้ได้เลยครับ: เทคนิคการใช้ Anchor Text แบบเนียนๆ
Checklist 13. ใส่ Bullet และ order list ลงไปด้วย
การเขียนบทความเพื่อทำ SEO ที่ดีนั้นเราต้องเขียนเนื้อหาขนาดยาวให้มันอ่านง่ายๆ ซึ่งการใช้ Bullet กับ order list จะช่วยทำให้ข้อมูลที่เราเขียนดูแล้วอ่านง่าย เข้าใจง่าย และเป็นประเด็นชัดเจน
Checklist 14. เพิ่มความหลากหลายของข้อมูลด้วยคลิป video
หากเป็นไปได้ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจของบทความ เราควรมีการวางคลิปวีดีโอจาก YouTube ลงไปด้วย การที่มีคนคลิกดูวิดีโอ จะทำให้เขาอยู่บนหน้าเว็บเรานานขึ้นด้วยนั้นเอง
SEO สำหรับมือใหม่: อันดับ # 1 ใน Google ในปี 2021
Checklist 15. ใส่ Call to action
หากคุณลงทุน ลงแรง และเสียเวลาเขียนบทความไปมากมาย แต่มันจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย หากมันไม่ช่วยทำให้คุณขายของได้มากขึ้น
หากคุณเขียนบทความได้ดี เป็นประโยชน์กับคนอ่าน ไม่ต้องกังวลกับการขายของ จงสร้าง Call to Action พาคนอ่านไปหน้าสินค้าที่คุณอยากขายได้เลย สุดท้ายเราเขียนบทความกันมากมายก็เพื่อขายของนั้นเอง
Checklist 16. เขียนหัวข้อสรุป H2
ทุกบทความ SEO ต้องมีท่อนสรุป ซึ่งมันเป็นหลักการเขียนหนังสือทั่วไปอยู่แล้ว แต่เทคนิคสำหรับการทำ SEO ที่บทความ คือ ให้คุณเขียนหัวข้อ ว่า สรุป ด้วย H2 จากนั้นให้เขียนบทสรุป ของเนื้อหาทั้งหมดสัก 1 ย่อหน้า คือ 2-3 บรรทัดขึ้นไป โดยให้มีคำ Focus keyword ปรากฏอยู่ด้วย 1 ครั้งครับ เพื่อเป็นการบอก Google ว่า บทความนี้จบแล้วนะ จงรีบตรวจ และรีบ index บทความฉันไวๆ นะ
ตัวอย่างการเขียนบทสรุป
SEO Tips: 1 บทความเราควรเขียนยาว 1000 คำขึ้น การเช็คจำนวนคำ เราต้องเช็คจากโปร Microsoft Word เอานะ
คอร์สเรียน SEO ออนไลน์
ทำเว็บให้ติดหน้าแรก Google
โดยไม่ต้องลงโฆษณา
เพิ่มยอดขายบนโลกออนไลน์
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถซื้อคอร์สเรียนในราคาพิเศษเพียง 3,500 บาท
บทสรุป: การเขียนบทความ SEO ให้โครงสร้างถูกต้อง
คู่มือใช้งาน On-page structure checklist เป็นเพียง guideline สำหรับการเขียนบทความให้มีโครงสร้างถูกต้องเท่านั้น การวางข้อมูลไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับทุกอย่างตาม checklist ที่ผมเขียนไว้ แต่ควรใส่ให้ครบทุกอย่างที่ผมแนะนำไว้ แต่การเขียนเนื้อหาที่มีโครงสร้างถูกต้อง ไม่ใช่สิ่งการันตีว่าบทความของคุณจะติดหน้าแรก Google ได้ เพราะแก่นของทุกบทความ SEO คุณต้องเขียนให้มันมีคุณค่ากับคนอ่านด้วยนั้นเอง
“ถ้าบทความคุณมีคุณค่ามากพอ เดี๋ยว Google จะให้รางวัลคุณเอง”
สำหรับผู้เริ่มต้นผมแนะนำให้คุณอ่านบทความนี้ต่อครับ: สอน SEO สรุปทุกอย่าง ที่มือใหม่ควรรู้
ประชาสัมพันธ์
สำหรับท่านใดที่อ่านบทความนี้แล้ว สนใจการทำ SEO บน WordPress แบบจริงจัง ในวันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2564 นี้ ผมได้เปิดคอร์สสอน SEO WordPress แบบกลุ่มเล็กๆ 1 รอบ สอนสดรอบละ 10 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์สูงสุด เรียนรู้และทำตามไปพร้อมๆ กันได้
รายละเอียดคอร์สเรียน
SEO WordPress
- ค่าเรียน 6,500 บาท
- เรียนวันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2564
- ระยะเวลาเรียน 6 ชั่วโมง
- เราเปิดสอน 1 รอบ
รอบเช้า 10.00 – 16.00 น. (ว่าง) - เรียนกลุ่มเล็กรอบละ 10 คนเท่านั้น
- สถานที่เรียน Seatz Station
- ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3
- จองที่นั่งเรียนผ่าน Lind ID : padveewebschool ได้เลยครับ
ทุกคอร์สเรียนรอบสอนสด
ได้คอร์สเรียนออนไลน์แถมฟรีครับ
ตัวอย่างผลงาน
SEO Ranking ของเรา
**ประกาศ**
สำหรับการเรียนแบบส่วนตัว 1 ต่อ 1 หรือกลุ่มส่วนตัว แบบสอนนอกสถานที่ ผมไม่รับสอนเว็บพนัน เว็บบอล เว็บหวย เว็บสายเทาทุกชนิดครับ
จะเว็บสายขาว หรือเว็บสายเทา การทำ SEO ใช้หลักการเดียวกันหมดครับ เพราะการทำ SEO ในยุคปัจจุบัน ไม่มีใครสามารถโกง Google ได้นั้นเอง
หากเว็บคุณเป็นสายเทา แต่สนใจเรียน SEO ด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามหลัก Google ก็มาเรียนได้ครับ แต่ให้ลงเรียนรอบสอนกลุ่มปกติ ที่สอนรอบละ 10 คนแทนนะ
แน่นอนวันเรียน คือ เรียนจาก case study จากเว็บหลายๆ แบบ แต่จะไม่มีการยกเว็บพนันมาเป็น case study แต่คุณก็สามารถนำความรู้จากคลาสเรียนนี้ไปปรับใช้กับเว็บตัวเองได้ครับ ไม่มีปัญหา เพราะหลักการทำ SEO นั้นเป็นหลักการสากล นำไปปรับใช้ได้กับเว็บทุกชนิด จะเว็บสายขาย หรือสายเทา หลักการที่ผมสอนนี้ใช้ได้ทั้งหมด
แจ้งไว้ให้ทราบทั่วกัน และขออภัยในความไม่สะดวกครับผม...
แผนที่สถานที่เรียน (รอบสอนกลุ่ม)
สถานที่เรียน Seatz Station
ปากซอยงามวงศ์วาน 44 ก่อนถึง รพ.วิภาวดี
ฝั่งตรงข้าม ม.เกษตรประตูงามวงศ์วาน 3
ขอบคุณสำหรับบทความดีดีครับ
By. http://www.ntmeshop.com
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ